นาฬิกา

Help Contact PSP Choose Language EnglishJapaneseChineseHome About PSP What's New Gallery Newest Ad Free Analog Animal Animation Count Down & Up Dark Backgrounds Digital Holidays Logo & Custom Seasons Sports Transparent Wallpaper FAQ Rankings Your Ads World Clock Daily Clock Views You Are Here: ClockLink.com | GalleryWant To Get A Custom Clock? Contact info@pspinc.com or 1-800-232-3989 Clock Name: YoshidaSauce001Choose Your Color Select by Timezone Select by City Timezone: ACST: Australia Central Time (GMT + 10:30) AEST: Australia Eastern Time (GMT + 11:00) AHST: Alaska-Hawaii Std Time (GMT - 10:00) AKST: Alaska Time (GMT - 9:00) AST: Atlantic Time (GMT - 4:00) AWST: Australia Western Time (GMT + 08:00) AMST: Amazon Time (GMT - 03:00) BRAST: Brazilian Acre Time (GMT - 05:00) BREST: Brazilian Eastern Time (GMT - 02:00) BRST: Brazilian Time (GMT - 02:00) BRWST: Brazilian Western Time (GMT - 03:00) BST: British Time (GMT + 0:00) CCT: China Coastal Time (GMT + 08:00) CET: Central Europe Time (GMT + 1:00) CLST: Chile Santiago (GMT - 03:00) CST: Central Time (GMT - 6:00) EAT: East Africa Time (GMT + 02:00) EET: Eastern Europe Time (GMT + 2:00) EG-EET: Egypt Cairo Time (GMT + 2:00) EST: Eastern Time (GMT - 5:00) FST: Falkland Islands (GMT - 03:00) GMT - 01:00 GMT - 02:00 GMT - 02:30 GMT - 03:00 GMT - 03:30 GMT - 04:00 GMT - 04:30 GMT - 05:00 GMT - 06:00 GMT - 07:00 GMT - 08:00 GMT - 09:00 GMT - 10:00 GMT - 11:00 GMT - 12:00 GMT + 01:00 GMT + 02:00 GMT + 03:00 GMT + 03:30 GMT + 04:00 GMT + 04:30 GMT + 05:00 GMT + 05:30 GMT + 05:45 GMT + 06:00 GMT + 06:30 GMT + 07:00 GMT + 07:10 GMT + 07:30 GMT + 08:00 GMT + 08:30 GMT + 09:00 GMT + 09:30 GMT + 10:00 GMT + 11:00 GMT + 12:00 GMT + 13:00 GMT + 00:00 GMT00: Greenwich Mean Time (GMT + 0:00) GRST: Greenland Time (GMT - 3:00) EGRST: Greenland Time (GMT - 1:00) ICT: Bangkok Time (GMT + 07:00) IST: Israel Time (GMT + 02:00) JOG: YogYakarta Indonesia Time (GMT + 07:00) JST: Japan Time (GMT + 09:00) MST: Mountain Time (GMT - 7:00) MX-CST: Mexico Central Time (GMT - 6:00) MX-MST: Mexico Mountain Time (GMT - 7:00) MX-PST: Mexico Pacific Time (GMT - 8:00) NZT: New Zealand Time (GMT + 13:00) NST: Newfoundland Time (GMT - 3:30) PST: Pacific Time (GMT - 8:00) R1T: Russia Time 1 (GMT + 2:00) R2T: Russia Moscow Time (GMT + 04:00) SAST: Australian South Standard Time (GMT + 10:30) USZ10: Russia Magadan Time (GMT + 12:00) USZ4: Russia Yekaterinburg Time (GMT + 06:00) USZ5: Russia Omsk Time (GMT + 07:00) USZ6: Russia Krasnoyarsk Time (GMT + 08:00) USZ7: Russia Irkutsk Time (GMT + 09:00) USZ8: Russia Yakutsk Time (GMT + 10:00) USZ9: Russia Vladivostok Time (GMT + 11:00) UYT: Uruguay Standard Time (GMT - 3:00) WAT: Namiba Windhoek Time (GMT + 2:00) WET: Western Europe Time (GMT + 0:00) WST: Western Samoa Time (GMT - 10:00) Country: Afghanistan Albania Algeria American Samoa Andorra Angola Anguilla Antigua and Barbuda Argentina Armenia Aruba Australia Austria Azerbaijan Bahamas Bahrain Bangladesh Barbados Belarus Belgium Belize Benin Bermuda Bhutan Bolivia Bosniaand Herzegovina Botswana Brazil Brunei Darussalam Bulgaria Burkina Faso Burundi Cambodia Cameroon Canada Cape Verde Cayman Islands Central African Republic Chad Chile China Colombia Comoros Congo Congo Democratic Republic Cook Islands Costa Rica Cote DIvoire Croatia Cuba Cyprus Czech Republic Denmark Djibouti Dominica Dominican Ecuador Egypt El Salvador Equatorial Guinea Eritrea Estonia Ethiopia Falkland Islands Fiji Finland France French Guiana Gabon Gambia Georgia Germany Ghana Greece Greenland Grenada Guadeloupe Guam Guatemala Guinea Guinea-Bissau Guyana Haiti Honduras Hong Kong Hungary Iceland India Indonesia Iran Iraq Ireland Israel Italy Jamaica Japan Jordan Kazakhstan Kenya Kiribati Korea Democratic Peoples Republic Of Korea Republic Of Kuwait Kyrgyzstan Lao Peoples Democratic Latvia Lebanon Lesotho Liberia Libyan Arab Jamahiriya Liechtenstein Lithuania Luxembourg Macedonia The Former Madagascar Malawi Malaysia Maldives Mali Malta Marshall Islands Mauritania Mauritius Mexico Micronesia Federated Moldova Republicof Mongolia Montenegro Morocco Mozambique Myanmar Namibia Nepal Netherlands Netherlands Antilles New Zealand Nicaragua Niger Nigeria Niue Northern Mariana Islands Norway Oman Pakistan Palau Palestinian Territory Panama Papua New Guinea Paraguay Peru Philippines Pitcairn Poland Portugal Puerto Rico Qatar Romania Russia Rwanda Saint Kittsand Nevis Saint Lucia Saint Martin Saint Vincentand The Samoa Saudi Arabia Senegal Serbia Seychelles Sierra Leone Singapore Slovakia Slovenia Solomon Islands Somalia South Africa Spain Sri Lanka Sudan Suriname Swaziland Sweden Switzerland Syrian Arab Republic Taiwan Tajikistan Tanzania Thailand Timor-Leste Togo Tokelau Trinidad and Tobago Tunisia Turkey Turkmenistan Tuvalu Uganda Ukraine United Arab Emirates United Kingdom United States Uruguay Uzbekistan Vanuatu Venezuela Viet Nam Wallisand Futuna Yemen Zambia Zimbabwe City:Albany, NYAlbuquerque, NMAnchorage, AKAnnapolis, MDAtlanta, GAAugusta, GAAustin, TXBaltimore, MDBillings,MTBirmingham, ALBismarck, NDBoise, IDBoston, MABridgeport, CTBuffalo, NYBurlington, VTCharleston, SCCharlotte, NCCheyenne, WYChicago, ILCincinnati, OHCleveland, OHColumbia, SCColumbus, OHConcord, OHDallas, TXDenver, CODes Moines, IADetroit, MIDover, OHEl Paso, TXEvansville, INFargo, NDFort Wayne, INGary, INHartford, CTHonolulu, HIHouston, TXIndianapolis, INJackson, MSJacksonville, FLJuneau, AKKansas City, MOKnoxville, TNLansing, MILas Vegas, NVLexington, KYLincoln, NELittle Rock, ARLos Angeles, CALouisville, KYMadison, WIMemphis, TNMiami, FLMilwaukee, WIMinneapolis, MNMontgomery, MNMontpelier, VTNashville, TNNew Orleans, LANew York, NYNewark, NJNome, AKOklahoma City, OKOmaha, NEOrlando, FLPensacola, FLPhiladelphia, PAPhoenix, AZPierre, SDPittsburgh, PAPortland, ORProvidence, RIRaleigh, NCRapid City, SDReno, NVRichmond, VASacramento, CASalem, ORSalt Lake City, UTSan Antonio, TXSan Diego, CASan Francisco, CASeattle, WASioux Falls, SDSpringfield, ILSt. Louis, MOSt. Paul, MNTallahassee, FLTerre Haute, INTopeka, KSTrenton, NJTucson, AZVirginia Beach, VAWashington DCWichita, KSWilmington, DESize: 140 x 52 175 x 65 350 x 130 If the above does not work, please try the following code.How to setup this widget onto your blog Add this widget to your typepad.com blog Pacific Software Publishing, Inc. 1404 140th Place NE, Bellevue, WA 98007 USA Tel: 425.957.0808 Fax: 425.957.1188 Email: info@pspinc.com Home | About PSP | What's New | Gallery | FAQ | Rankings | Your Ads | World Clock Copyright ©2010 PSP Inc. All Rights Reserved.

วันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ประวัติศาสตร์ไทย

ประวัติศาสตร์ไทย
ในการศึกษาประวัติศาสตร์ไทย นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่เริ่มนับตั้งแต่สมัยอาณาจักรสุโขทัยเป็นต้นมา หากแต่ในอาณาเขตประเทศไทย พบหลักฐานของมนุษย์ซึ่งมีอายุเก่าแก่ที่สุดถึงห้าแสนป ทั้งยังมีหลักฐานของอารยธรรมและรัฐโบราณในอาณาเขตดังกล่าวเป็นจำนวนมาก
อาณาจักรสุโขทัยซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 1781 ขยายดินแดนออกไปอย่างกว้างขวางในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช นอกจากนี้ ในรัชสมัยของพระองค์ยังมี แต่เสถียรภาพของอาณาจักรได้อ่อนแอลงภายหลังการสวรรคตของพระองค์ อาณาจักรอยุธยาก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ. 1893 มีความยิ่งใหญ่กว่าอาณาจักรสุโขทัยเดิม เนื่องจากมีการติดต่อกับชาติตะวันตก ก่อนจะล่มสลายลงอย่างสิ้นเชิงใน พ.ศ. 2310 พระยาตากได้รวบรวมไพร่พลกอบกู้เอกราช และย้ายราชธานีมาอยู่ที่กรุงธนบุรี ต่อมา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325
การลงนามในสนธิสัญญาเบาว์ริง ทำให้ชาติตะวันตกหลายชาติเข้ามาทำสนธิสัญญาอันไม่เป็นธรรมอีกหลายฉบับ ต่อมา แม้จะมีการเสียดินแดนหลายครั้งให้แก่ฝรั่งเศสและอังกฤษ แต่อาณาจักรสยามก็ไม่ตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก กุศโลบายของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทำให้ไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง โดยอยู่ฝ่ายเดียวกับฝ่ายพันธมิตร ทำให้สยามได้รับการยอมรับจากนานาประเทศ อันนำมาซึ่งการแก้ไขสนธิสัญญาอันไม่เป็นธรรมทั้งหลาย
วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้มีการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองมาเป็นประชาธิปไตย ทำให้คณะราษฎรเข้ามามีบทบาทในทางการเมือง ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศไทยได้ลงนามเป็นพันธมิตรทางทหารกับญี่ปุ่น ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยได้ดำเนินนโยบายเป็นพันธมิตรกับสหรัฐอเมริกา โดยมีนโยบายต่อต้านการขยายตัวของคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค
หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ประเทศไทยยังถือได้ว่าอยู่ในระบอบเผด็จการในทางปฏิบัติอยู่หลายทศวรรษ ประเทศไทยประสบกับความไร้เสถียรภาพทางการเมือง และได้มีการสืบทอดอำนาจของรัฐบาลทหารผ่านการก่อรัฐประหารหลายสิบครั้ง อย่างไรก็ดี หลังจากนั้นได้มีเหตุการณ์เรียกร้องประชาธิปไตยครั้งสำคัญในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ประชาธิปไตยในประเทศเริ่มมีความมั่นคงยิ่งขึ้น ปัจจุบัน ประเทศไทยกำลังเกิดวิกฤตการณ์การเมือง ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ พ.ศ. 2548

การแบ่งยุคสมัย

การจัดแบ่งยุคทางประวัติศาสตร์ของไทยนั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงแสดงพระทัศนะไว้ในพระนิพนธ์เรื่อง "ตำนานหนังสือพระราชพงศาวดาร" ในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาเมื่อ พ.ศ. 2457 ถึงการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ของไทยไว้ว่า "เรื่องพระราชพงศาวดารสยาม ควรจัดแบ่งเป็น 3 ยุค คือ เมื่อกรุงสุโขทัยเป็นราชธานียุค 1 เมื่อกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานียุค 1 เมื่อกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานียุค 1"[2] ซึ่งการลำดับสมัยทางประวัติศาสตร์แบบเส้นตรง (Linear) โดยวางโครงเรื่องผูกกับกำเนิดและการล่มสลายของรัฐ กล่าวคือใช้รัฐหรือราชธานีเป็นศูนย์กลางเช่นนี้ ยังคงมีอิทธิพลอยู่มากต่อการเข้าใจประวัติศาสตร์ไทยในปัจจุบัน
ในปัจจุบัน มีข้อเสนอใหม่ ๆ เกี่ยวกับโครงเรื่องประวัติศาสตร์ไทยขึ้นมาบ้าง ที่สำคัญคือ ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ได้เสนอถึงหัวข้อสำคัญที่ควรเป็นแกนกลางของประวัติศาสตร์แห่งชาติไทยไว้ 8 หัวข้อ ดังนี้[3]

ยุคก่อนประวัติศาสตร์และรัฐโบราณในประเทศไทย

แผนที่แสดงรัฐโบราณในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบัน
- ชนพื้นเมืองและการอพยพเข้ามาในประเทศไทย - นักมานุษยวิทยาได้จัดประเภทมนุษย์สมัยโบราณรุ่นแรกในตระกูลออสโตเนเซียน ซึ่งเป็นพวกที่อพยพเข้ามาในประเทศไทยเมื่อหลายพันปีที่แล้ว รวมทั้งเป็นบรรพบุรุษของชนชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ปัจจุบัน ต่อมา มนุษย์ในตระกูลมอญและเขมรจะอพยพเข้ามาจากจีนหรืออินเดียด้วย ก่อนที่พวกไทยจะอพยพเข้ามาแย่งชิงดินแดนจากพวกละว้า ซึ่งเป็นชนชาติล้าหลังวัลลภา รุ่งศิริแสงรัตน์. ชาวเขาที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยปัจจุบันจึงสันนิษฐานว่าสืบเชื้อสายมาจากพวกละว้า>

แนวคิดเกี่ยวกับถิ่นกำเนิดของชนชาติไท

รัฐโบราณในประเทศไทย

จากหลักฐานด้านโบราณคดี ตำนาน นิทานพื้นบ้าน บันทึกราชการของจีน และบันทึกของพระภิกษุจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในพุทธศตวรรษที่ 12 ทำให้ทราบว่ามีอารยธรรมมนุษย์ได้สถาปนาอำนาจในประเทศไทยเป็นเวลานานแล้วโดยอาณาจักรโบราณในดินแดนประเทศไทยปัจจุบัน สามารถจำแนกได้ดังรายชื่อด้านล่าง

สมัยอาณาจักรสุโขทัย และยุครุ่งเรืองของอาณาจักรล้านนา

การล่มสลายของจักรวรรดิขะแมร์เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 13 ทำให้เกิดอาณาจักรสุโขทัย ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 1781 อาณาจักรสุโขทัยขยายดินแดนออกไปอย่างกว้างขวางในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช แต่เสถียรภาพของอาณาจักรได้อ่อนแอลงภายหลังการสวรรคตของพระองค์[6] ลักษณะการปกครองเป็นแบบพ่อปกครองลูก เนื่องจากมีความใกล้ชิดระหว่างผู้ปกครองและราษฎร แต่ในรัชสมัยพญาลิไทก็ได้มีการเปลี่ยนรูปแบบการปกครองมาเป็นธรรมราชา จากการรับอิทธิพลของศาสนาพุทธเข้ามา
ในช่วงเวลาเดียวกันอาณาจักรล้านนา ได้ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 1802 โดยพญามังราย ที่ขยายอำนาจมาจากลุ่มแม่น้ำกกและอิง สู่ลุ่มแม่น้ำปิง พญามังรายได้สร้างเมืองเชียงใหม่ และทรงมีสัมพันธ์อันดีกับพ่อขุนรามคำแหงแห่งสุโขทัย อาณาจักรเชียงใหม่หรือล้านนา มีอำนาจสืบต่อมาในแถบลุ่มแม่น้ำปิง เชียงใหม่มีความสัมพันธ์ที่ไม่ราบรื่นนักกับอาณาจักรอยุธยา หรือกรุงศรีอยุธยา ที่เรืองอำนาจในพุทธศตวรรษที่ 19-20 มีการทำสงครามผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะอย่างต่อเนื่อง ในที่สุดเชียงใหม่ได้ปราชัยต่อพม่า ในปีพ.ศ. 2101 ถูกพม่ายึดครองอีกครั้งในราวปี 2310 กระทั่งเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2318 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และ พระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ ได้ทรงขับไล่พม่าออกจากดินแดนล้านนา โดยหลังจากนั้น พระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ ได้ทรงปกครองอาณาจักรล้านนา ในฐานะประเทศราชสยาม

สาเหตุการเลือกอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย

นักวิชาการให้เหตุผลในการเลือกเอาอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทยไว้ 2 เหตุผล ได้แก่:
  1. วิชาประวัติศาสตร์มักจะยึดเอาการที่มนุษย์เริ่มมีภาษาเขียนเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ หลักฐานประเภทลายลักษณ์ถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ซึ่งเมื่อประกอบกับการประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช จึงเหมาะสมที่จะเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย
  2. เป็นการสะดวกในด้านการนับเวลาและเหตุการณ์ที่ต่อเนื่องกัน ทั้งนี้ นักประวัติศาสตร์มีหลักฐานความสืบเนื่องกันตั้งแต่สมัยสุโขทัยมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์จนถึงปัจจุบัน
ทั้งนี้ เหตุผลทั้งสองประการก็ยังไม่เป้นที่ยอมรับกันอย่างเป็นเอกฉันท์นัก[7]

สมัยอาณาจักรอยุธยา

ดูบทความหลักที่ อาณาจักรอยุธยา
พระเจ้าอู่ทองทรงก่อตั้งอาณาจักรอยุธยาในปี พ.ศ. 1893 ซึ่งในช่วงแรกนั้นก็มิได้เป็นศูนย์กลางของชาวไทยในดินแดนคาบสมุทรอินโดจีนทั้งปวง แต่ด้วยความเข้มแข็งที่ทวีเพิ่มขึ้นประกอบกับวิธีการทางการสร้างความสัมพันธ์กับชาวไทยกลุ่มต่าง ๆ ในที่สุดอยุธยาก็สามารถรวบรวมกลุ่มชาวไทยต่าง ๆ ในดินแดนแถบนี้ให้เข้ามาอยู่ภายใต้อำนาจได้ นอกจากนี้ยังกลายมาเป็นรัฐมหาอำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างรวดเร็ว
การเข้าแทรกแซงสุโขทัยอย่างต่อเนื่องทำให้อาณาจักรสุโขทัยตกเป็นประเทศราชของอาณาจักรอยุธยาในที่สุด สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงปฏิรูปการปกครองโดยการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง การยึดครองมะละกาของโปรตุเกสในปี พ.ศ. 2054 ทำให้อยุธยาเริ่มการติดต่อกับชาติตะวันตก ในสมัยอาณาจักรอยุธยามีการติดต่อกับต่างประเทศอยู่หลายชาติ โดยชาวโปรตุเกสได้เดินทางมายังกรุงศรีอยุธยาในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 หลังจากนั้น ชาติที่เข้ามาอาศัยอยู่ในกรุงศรีอยุธยาเป็นจำนวนมากและมีบทบาทสำคัญ ได้แก่ ชาวดัตช์ ชาวฝรั่งเศส ชาวจีน และชาวญี่ปุ่น
ราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 เมื่อราชวงศ์ตองอูของพม่าเริ่มมีอำนาจมากขึ้น การสงครามอันยาวนานนับตั้งแต่ พ.ศ. 2091 ส่งผลให้อยุธยาตกเป็นประเทศราชของอาณาจักรตองอูในที่สุด ก่อนที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชจะทรงประกาศอิสรภาพในอีก 15 ปีต่อมา
อาณาจักรอยุธยาเป็นอาณาจักรที่มีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาล จากทิศเหนือจรดอาณาจักรล้านนา ไปจรดคาบสมุทรมลายูทางทิศใต้ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของอยุธยารุ่งเรืองขึ้นอย่างมากในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช อย่างไรก็ตาม ความสงสัยในตัวของคอนสแตนติน ฟอลคอน ทำให้ถูกสังหารโดยพระเพทราชา อาณาจักรอยุธยาเริ่มเสื่อมอำนาจลงราวพุทธศตวรรษที่ 24 การทำสงครามกับพม่าหลังจากนั้นส่งผลทำให้อยุธยาถูกปล้นสะดมและเผาทำลาย เมื่อปี พ.ศ. 2310

สมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์

รัชสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น

ดูบทความหลักที่ อาณาจักรธนบุรี
ในปี พ.ศ. 2310-2325 เริ่มต้นหลังจากที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ขับไล่ทหารพม่าออกจากแผ่นดินไทย ทำการรวมชาติ และได้ย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่กรุงธนบุรี โดยจัดตั้งการเมืองการปกครอง มีลักษณะการเมืองการปกครองยังคงดำรงไว้ซึ่งการเมืองการปกครองภายในสมัยอยุธยาอยู่ก่อน โดยมีพระมหากษัตริย์มีอำนาจเด็ดขาดในการเมืองการปกครอง อย่างไรก็ตาม ภายหลังสิ้นรัชสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้สถาปนาตนขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี และทรงย้ายเมืองหลวงมายังกรุงเทพมหานคร เริ่มยุคสมัยแห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1790 กองทัพพม่าถูกขับไล่ออกจากดินแดนรัตนโกสินทร์อย่างถาวร และทำให้แคว้นล้านนาปลอดจากอิทธิพลของพม่าเช่นกัน โดยล้านนาถูกปกครองโดยราชวงศ์ที่นิยมราชวงศ์จักรีนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จนกระทั่งถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรสยามอย่างเป็นทางการ
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ไทยยังเผชิญกับการรุกรานจากประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ สงครามเก้าทัพ, สงครามท่าดินแดงกับพม่า ตลอดจนกบฏเจ้าอนุวงศ์กับลาว และอานามสยามยุทธกับญวน
ในช่วงนี้ กรุงรัตนโกสินทร์ยังไม่ค่อยมีการติดต่อค้าขายกับชาติตะวันตกมากนัก ต่อมาเมื่อชาวตะวันตกเริ่มเข้ามาค้าขายอีก ได้ตระหนักว่าพวกพ่อค้าจีนได้รับสิทธิพิเศษเหนือคนไทยและพวกตน จึงได้เริ่มเรียกร้องสิทธิพิเศษต่าง ๆ มาโดยตลอด[8] มีการเดินทางเยือนของทูตหลายคน อาทิ จอห์น ครอเฟิร์ต ตัวแทนจากบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ[8] ซึ่งเข้ามาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย แต่ยังไม่บรรลุข้อตกลงใด ๆ สนธิสัญญาที่มีการลงนามในช่วงนี้ เช่น สนธิสัญญาเบอร์นี และสนธิสัญญาโรเบิร์ต[8] แต่ก็เป็นเพียงข้อตกลงที่ไม่มีผลกระทบมากนัก และชาวตะวันตกไม่ค่อยได้รับสิทธิพิเศษเพิ่มมากขึ้นแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม ได้มีคณะทูตตะวันตกเข้ามาเสนอสนธิสัญญาข้อตกลงทางการค้าอยู่เรื่อย ๆ เพื่อขอสิทธิทางการค้าให้เท่ากับพ่อค้าจีน และอังกฤษต้องการเข้ามาค้าฝิ่นอันได้กำไรมหาศาล[8] แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ทั้งคณะของเจมส์ บรุคจากอังกฤษ และโจเซฟ บัลเลสเตียร์จากสหรัฐอเมริกา ทำให้ชาวตะวันตกขุ่นเคืองต่อราชสำนัก

การเผชิญหน้ากับมหาอำนาจตะวันตก

ดูเพิ่มที่ สยาม
ภายหลังจากที่พม่าตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษในปี พ.ศ. 2369 พระมหากษัตริย์ไทยในรัชสมัยถัดมาจึงทรงตระหนักถึงภัยคุกคามที่มาจากชาติมหาอำนาจในทวีปยุโรป และพยายามดำเนินนโยบายทอดไมตรีกับชาติเหล่านั้น อย่างไรก็ตาม สยามมีการเปลี่ยนแปลงดินแดนหลายครั้ง รวมทั้งตกอยู่ในสถานะรัฐกันชนระหว่างอังกฤษและฝรั่งเศส ถึงกระนั้น สยามก็ไม่ตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก และเป็นเพียงประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่สามารถรักษาเอกราชของตนไว้ได้

การเปลี่ยนแปลงการปกครองของไทย

ดูบทความหลักที่ การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475
เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้มีกลุ่มบุคคลที่เรียกว่า คณะราษฎร ได้ทำการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครอง จากสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ เป็นเหตุการณ์ที่สร้างความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองการปกครองของประเทศไทยอย่างมาก และทำให้สถาบันกษัตริย์ที่เคยเป็นผู้ปกครองสูงสุดของประเทศมาช้านานต้องสูญเสียอำนาจส่วนใหญ่ไปในที่สุด โดยมีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2475 ขึ้นเป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยอย่างถาวรเป็นฉบับแรก
ภายหลังจากเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงดังกล่าว การต่อสู้ทางการเมืองยังคงมีการต่อสู้กันระหว่างผู้นำในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช กับระบอบใหม่ รวมทั้งความขัดแย้งในผู้นำระบอบใหม่ด้วยกันเอง โดยการต่อสู้ทางการเมืองและทางความคิดอุดมการณ์นี้ได้ดำเนินต่อเนื่องยาวนานเป็นเวลากว่า 25 ปีภายหลังจากการปฏิวัติ และนำไปสู่ยุคตกต่ำของคณะราษฎรในกาลต่อมา ทำให้การเปลี่ยนแปลงการปกครองดังกล่าวถูกมองว่าเป็นพฤติการณ์ "ชิงสุกก่อนห่าม" เนื่องจากชาวไทยยังไม่พร้อมสำหรับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อีกทั้งการปกครองในระยะแรกหลังการปฏิวัติยังคงอยู่ในระบอบเผด็จการทหาร

สงครามโลกครั้งที่สอง

ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ได้มีการเดินขบวนเรียกร้องให้รัฐบาลเอาดินแดนคืนของนิสิตนักศึกษา จอมพลแปลก พิบูลสงคราม จึงส่งทหารข้ามแม่น้ำโขงและรุกรานอินโดจีนฝรั่งเศส จนได้ดินแดนคืนมา 4 จังหวัด ภายหลังการเข้าไกล่เกลี่ยของญี่ปุ่น โดยมีการรบที่เป็นที่รู้จักกันมาก ได้แก่ การรบที่เกาะช้าง
ต่อมา หลังจากการโจมตีกองทัพเรือสหรัฐอเมริกาที่เพิร์ลฮาร์เบอร์ กองทัพญี่ปุ่นก็ได้รุกรานประเทศไทย โดยต้องการเคลื่อนทัพผ่านดินแดน รัฐบาลจอมพลแปลก พิบูลสงครามได้ดำเนินนโยบายเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น รวมทั้งลงนามในสนธิสัญญาพันธมิตรทางการทหารกับญี่ปุ่น และประกาศสงครามต่อสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร ซึ่งนโยบายดังกล่าวของรัฐบาลถูกต่อต้านจากทั้งในและนอกประเทศ เนื่องจากไทยประสบกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ
หลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2488 แม้ว่าประเทศไทยจะตกอยู่ในสถานะประเทศผู้แพ้สงคราม แต่เนื่องจากการเคลื่อนไหวของขบวนการเสรีไทย ทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรยอมรับ และไม่ถูกยึดครอง เพียงแต่ต้องคืนดินแดนระหว่างสงครามให้กับอังกฤษและฝรั่งเศส และจ่ายค่าเสียหายทดแทนเท่านั้น

สงครามเย็น

รัฐบาลไทยได้ดำเนินนโยบายเป็นพันธมิตรของสหรัฐอเมริกาในระหว่างสงครามเย็น ดังจะเห็นได้จากนโยบายต่อต้านการขยายตัวของคอมมิวนิสต์ในคาบสมุทรอินโดจีน และยังส่งทหารไปร่วมรบกับฝ่ายพันธมิตร ได้แก่ สงครามเกาหลี และสงครามเวียดนาม
ประเทศไทยประสบกับปัญหากองโจรคอมมิวนิสต์ในประเทศระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1960 และ 1970 อย่างไรก็ตาม ปัญหาดังกล่าวก็ไม่ค่อยจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศสักเท่าไหร่ และกองโจรก็หมดไปในที่สุด

การพัฒนาประชาธิปไตย

หลังจากปัจจัยแวดล้อมด้านต่าง ๆ ได้รับการพัฒนาขึ้น ประชาชนมีความพร้อมต่อการใช้อำนาจอธิปไตยเพิ่มมากขึ้น การเรียกร้องอำนาจอธิปไตยคืนจากฝ่ายทหารก็เกิดขึ้นเป็นระยะ กระทั่งในที่สุด ภายหลังจากเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ฝ่ายทหารก็ไม่สามารถถือครองอำนาจอธิปไตยได้อย่างถาวรอีกต่อไป อำนาจอธิปไตยจึงได้เปลี่ยนไปอยู่ในมือของกลุ่มนักการเมือง ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มบุคคลสามกลุ่มหลัก คือ กลุ่มทหารที่เปลี่ยนบทบาทมาเป็นนักการเมือง กลุ่มนายทุนและผู้มีอิทธิพล และกลุ่มนักวาทศิลป์ แต่ต่อมาภายหลังจากการสิ้นสุดลงของยุคสงครามเย็น โลกได้เปลี่ยนมาสู่ยุคการแข่งขันกันทางการค้าซึ่งมีความรุนแรงเป็นอย่างมาก กลุ่มการเมืองที่มาจากกลุ่มทุนนิยมสมัยใหม่ได้เข้ามามีบทบาทแทน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น