นาฬิกา

Help Contact PSP Choose Language EnglishJapaneseChineseHome About PSP What's New Gallery Newest Ad Free Analog Animal Animation Count Down & Up Dark Backgrounds Digital Holidays Logo & Custom Seasons Sports Transparent Wallpaper FAQ Rankings Your Ads World Clock Daily Clock Views You Are Here: ClockLink.com | GalleryWant To Get A Custom Clock? Contact info@pspinc.com or 1-800-232-3989 Clock Name: YoshidaSauce001Choose Your Color Select by Timezone Select by City Timezone: ACST: Australia Central Time (GMT + 10:30) AEST: Australia Eastern Time (GMT + 11:00) AHST: Alaska-Hawaii Std Time (GMT - 10:00) AKST: Alaska Time (GMT - 9:00) AST: Atlantic Time (GMT - 4:00) AWST: Australia Western Time (GMT + 08:00) AMST: Amazon Time (GMT - 03:00) BRAST: Brazilian Acre Time (GMT - 05:00) BREST: Brazilian Eastern Time (GMT - 02:00) BRST: Brazilian Time (GMT - 02:00) BRWST: Brazilian Western Time (GMT - 03:00) BST: British Time (GMT + 0:00) CCT: China Coastal Time (GMT + 08:00) CET: Central Europe Time (GMT + 1:00) CLST: Chile Santiago (GMT - 03:00) CST: Central Time (GMT - 6:00) EAT: East Africa Time (GMT + 02:00) EET: Eastern Europe Time (GMT + 2:00) EG-EET: Egypt Cairo Time (GMT + 2:00) EST: Eastern Time (GMT - 5:00) FST: Falkland Islands (GMT - 03:00) GMT - 01:00 GMT - 02:00 GMT - 02:30 GMT - 03:00 GMT - 03:30 GMT - 04:00 GMT - 04:30 GMT - 05:00 GMT - 06:00 GMT - 07:00 GMT - 08:00 GMT - 09:00 GMT - 10:00 GMT - 11:00 GMT - 12:00 GMT + 01:00 GMT + 02:00 GMT + 03:00 GMT + 03:30 GMT + 04:00 GMT + 04:30 GMT + 05:00 GMT + 05:30 GMT + 05:45 GMT + 06:00 GMT + 06:30 GMT + 07:00 GMT + 07:10 GMT + 07:30 GMT + 08:00 GMT + 08:30 GMT + 09:00 GMT + 09:30 GMT + 10:00 GMT + 11:00 GMT + 12:00 GMT + 13:00 GMT + 00:00 GMT00: Greenwich Mean Time (GMT + 0:00) GRST: Greenland Time (GMT - 3:00) EGRST: Greenland Time (GMT - 1:00) ICT: Bangkok Time (GMT + 07:00) IST: Israel Time (GMT + 02:00) JOG: YogYakarta Indonesia Time (GMT + 07:00) JST: Japan Time (GMT + 09:00) MST: Mountain Time (GMT - 7:00) MX-CST: Mexico Central Time (GMT - 6:00) MX-MST: Mexico Mountain Time (GMT - 7:00) MX-PST: Mexico Pacific Time (GMT - 8:00) NZT: New Zealand Time (GMT + 13:00) NST: Newfoundland Time (GMT - 3:30) PST: Pacific Time (GMT - 8:00) R1T: Russia Time 1 (GMT + 2:00) R2T: Russia Moscow Time (GMT + 04:00) SAST: Australian South Standard Time (GMT + 10:30) USZ10: Russia Magadan Time (GMT + 12:00) USZ4: Russia Yekaterinburg Time (GMT + 06:00) USZ5: Russia Omsk Time (GMT + 07:00) USZ6: Russia Krasnoyarsk Time (GMT + 08:00) USZ7: Russia Irkutsk Time (GMT + 09:00) USZ8: Russia Yakutsk Time (GMT + 10:00) USZ9: Russia Vladivostok Time (GMT + 11:00) UYT: Uruguay Standard Time (GMT - 3:00) WAT: Namiba Windhoek Time (GMT + 2:00) WET: Western Europe Time (GMT + 0:00) WST: Western Samoa Time (GMT - 10:00) Country: Afghanistan Albania Algeria American Samoa Andorra Angola Anguilla Antigua and Barbuda Argentina Armenia Aruba Australia Austria Azerbaijan Bahamas Bahrain Bangladesh Barbados Belarus Belgium Belize Benin Bermuda Bhutan Bolivia Bosniaand Herzegovina Botswana Brazil Brunei Darussalam Bulgaria Burkina Faso Burundi Cambodia Cameroon Canada Cape Verde Cayman Islands Central African Republic Chad Chile China Colombia Comoros Congo Congo Democratic Republic Cook Islands Costa Rica Cote DIvoire Croatia Cuba Cyprus Czech Republic Denmark Djibouti Dominica Dominican Ecuador Egypt El Salvador Equatorial Guinea Eritrea Estonia Ethiopia Falkland Islands Fiji Finland France French Guiana Gabon Gambia Georgia Germany Ghana Greece Greenland Grenada Guadeloupe Guam Guatemala Guinea Guinea-Bissau Guyana Haiti Honduras Hong Kong Hungary Iceland India Indonesia Iran Iraq Ireland Israel Italy Jamaica Japan Jordan Kazakhstan Kenya Kiribati Korea Democratic Peoples Republic Of Korea Republic Of Kuwait Kyrgyzstan Lao Peoples Democratic Latvia Lebanon Lesotho Liberia Libyan Arab Jamahiriya Liechtenstein Lithuania Luxembourg Macedonia The Former Madagascar Malawi Malaysia Maldives Mali Malta Marshall Islands Mauritania Mauritius Mexico Micronesia Federated Moldova Republicof Mongolia Montenegro Morocco Mozambique Myanmar Namibia Nepal Netherlands Netherlands Antilles New Zealand Nicaragua Niger Nigeria Niue Northern Mariana Islands Norway Oman Pakistan Palau Palestinian Territory Panama Papua New Guinea Paraguay Peru Philippines Pitcairn Poland Portugal Puerto Rico Qatar Romania Russia Rwanda Saint Kittsand Nevis Saint Lucia Saint Martin Saint Vincentand The Samoa Saudi Arabia Senegal Serbia Seychelles Sierra Leone Singapore Slovakia Slovenia Solomon Islands Somalia South Africa Spain Sri Lanka Sudan Suriname Swaziland Sweden Switzerland Syrian Arab Republic Taiwan Tajikistan Tanzania Thailand Timor-Leste Togo Tokelau Trinidad and Tobago Tunisia Turkey Turkmenistan Tuvalu Uganda Ukraine United Arab Emirates United Kingdom United States Uruguay Uzbekistan Vanuatu Venezuela Viet Nam Wallisand Futuna Yemen Zambia Zimbabwe City:Albany, NYAlbuquerque, NMAnchorage, AKAnnapolis, MDAtlanta, GAAugusta, GAAustin, TXBaltimore, MDBillings,MTBirmingham, ALBismarck, NDBoise, IDBoston, MABridgeport, CTBuffalo, NYBurlington, VTCharleston, SCCharlotte, NCCheyenne, WYChicago, ILCincinnati, OHCleveland, OHColumbia, SCColumbus, OHConcord, OHDallas, TXDenver, CODes Moines, IADetroit, MIDover, OHEl Paso, TXEvansville, INFargo, NDFort Wayne, INGary, INHartford, CTHonolulu, HIHouston, TXIndianapolis, INJackson, MSJacksonville, FLJuneau, AKKansas City, MOKnoxville, TNLansing, MILas Vegas, NVLexington, KYLincoln, NELittle Rock, ARLos Angeles, CALouisville, KYMadison, WIMemphis, TNMiami, FLMilwaukee, WIMinneapolis, MNMontgomery, MNMontpelier, VTNashville, TNNew Orleans, LANew York, NYNewark, NJNome, AKOklahoma City, OKOmaha, NEOrlando, FLPensacola, FLPhiladelphia, PAPhoenix, AZPierre, SDPittsburgh, PAPortland, ORProvidence, RIRaleigh, NCRapid City, SDReno, NVRichmond, VASacramento, CASalem, ORSalt Lake City, UTSan Antonio, TXSan Diego, CASan Francisco, CASeattle, WASioux Falls, SDSpringfield, ILSt. Louis, MOSt. Paul, MNTallahassee, FLTerre Haute, INTopeka, KSTrenton, NJTucson, AZVirginia Beach, VAWashington DCWichita, KSWilmington, DESize: 140 x 52 175 x 65 350 x 130 If the above does not work, please try the following code.How to setup this widget onto your blog Add this widget to your typepad.com blog Pacific Software Publishing, Inc. 1404 140th Place NE, Bellevue, WA 98007 USA Tel: 425.957.0808 Fax: 425.957.1188 Email: info@pspinc.com Home | About PSP | What's New | Gallery | FAQ | Rankings | Your Ads | World Clock Copyright ©2010 PSP Inc. All Rights Reserved.

วันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

สปาเก็ตตี้


โดยส่วนมาก ผมมักจะทำสปาเก็ตตี้แบบผัดกับน้ำมันมะกอกซะมากกว่า ไม่ค่อยได้ทำแบบซอสเท่าไร แต่วันนี้นึกสนุก อยากลองทำแบบนี้ดูบ้าง ซึ่งได้ผลลัพธ์ออกมาถูกใจไม่น้อยเลยครับ
 
 
ส่วนประกอบ:
     - เส้นสปาเก็ตตี้
     - หมูสับ
     - หอมหัวใหญ่
     - มะเขือเทศ
     - พาสลีย์
     - เนย
     - เกลือ, พริกไทย

 
ก่อนอื่น เรามาเริ่มเตรียมซอสมะเขือเทศสดกันก่อนครับ
เริ่มจาก นำมะเขือเทศสดมา 2 ลูก กรีดผิวให้เป็นรอยแบบผ่า 4
ต้มในน้ำเดือด จนมะเขือเทศนิ่ม
นำขึ้นแช่ในน้ำเย็นทันที เปลือกจะร่อนออก ทำให้ลอกได้อย่างง่ายดาย
ขั้นตอนสุดท้ายหลังจากลอกเปลือกแล้ว นำมะเขือเทศมาสับๆๆๆๆ ให้ละเอียด

 
ในระหว่างที่ต้มมะเขือเทศ เราก็หันมาหั่นส่วนประกอบอื่นๆ เตรียมไว้ครับ
หั่นหอมหัวใหญ่ และมะเขือเทศ (อีก 1 ลูก) เป็นชิ้นเล็กๆ
ส่วนพาสลีย์ สับหยาบๆ

 
เมื่อเตรียมทุกสิ่งอย่างพร้อมแล้ว เรามาลงมือผัดกันเลยครับ
ผัดหอมหัวใหญ่กับเนยเค็มจนหอมเริ่มใส
ใส่หมูสับ ผัดพอสุก
ใส่มะเขือเทศหั่น แล้วตามด้วยซอสมะเขือเทศสด
(*ผมแอบใส่ซอสมะเขือเทศเข้มข้นลงไปด้วย 1.5 ช้อนโต๊ะ เพราะตอนแรกเห็นว่ายังเข้มข้นไม่พอ และเพื่อเพิ่มรสชาติด้วยครับ)
ปรุงรสด้วยเกลือ และพริกไทยดำ คนเบาๆ ให้เข้ากัน
จากนั้นใส่พาสลีย์สับ คนเบาๆ ให้เข้ากันอีกที
นำเส้นสปาเก็ตตี้ที่ต้มไว้แล้ว ใส่ลงไป
คลุกให้ซอสเคลือบเส้นทั่วๆ

วันมาฆบูชา

เค้ก

เค้ก (อังกฤษ: cake) เป็นอาหารชนิดหนึ่งที่มักจะมีลักษณะหวานและผ่านกระบวนการอบ ซึ่งจะทำมาจากแป้ง, น้ำตาล และส่วนประกอบอื่นๆ เช่น ไข่, แป้งสาลี, ผัก, ผลไม้ที่ให้รสหวานหรือเปรี้ยว เป็นต้น หรือส่วนประกอบที่มีไขมัน เช่น เนย, ชีส, ยีสต์, นม, เนยเทียม เป็นต้น และนิยมรับประทานเป็นของหวาน และฉลองในเทศกาลต่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันเกิดและวันแต่งงาน ซึ่งในโลกมีตำรับหรือสูตรการทำเค้กเป็นจำนวนมาก อีกทั้งตำรับการทำเค้กบางสูตรก็มีการสืบทอดการทำเป็นเวลาหลายศตวรรษ และเค้กนั้นยังเป็นอาหารหวานที่นิยมไปทั่วโลกอีกด้วย ปัจจุบันมีผู้สนใจที่อยากจะเรียนทำเค้กเพื่อจุดประสงค์ต่างๆ มากมาย อย่างเช่น เรียนเพื่อที่จะนำมาประกอบอาชีพเปิดร้านเค้ก เป็นต้น

ชนิดของเค้ก
เค้กปอนด์แบบชั้นแทรกด้วยแยมราสเบอร์รีและผิวมะนาวขูด แต่งหน้าด้วยครีมเนย
เค้กแบ่งได้เป็นหลายประเภท ดังนี้ [1]
  • เค้กเนย (butter cake) ส่วนผสมหลักที่ทำให้ขึ้นฟูคือเนย โดยจะตีเนยกับน้ำตาลให้เป็นครีมฟูก่อน จึงเติมไข่ นม และแป้ง แบ่งย่อยได้อีกหลายชนิด เช่น เค้กชั้น ฟรุตเค้ก และเค้กปอนด์ ซึ่งหมายถึง เค้กที่ทำจากแป้งสาลีหนึ่งปอนด์ น้ำตาลหนึ่งปอนด์และ เนยหนึ่งปอนด์
  • เค้กไข่ (foam cake) เป็นเค้กที่ขึ้นฟูโดยตีฟองอากาศเข้าไปในไข่ แบ่งย่อยเป็น 3 ชนิดคือ
    • ชิฟฟอนเค้ก (chiffon cake) เป็นเค้กที่ใช้น้ำมันพืชแทนเนย
    • เค้กไข่ขาว (angle food cake) ใช้ไข่ขาวล้วน ไม่ใส่ไข่แดงและไขมันใดๆ แต่ใส่น้ำตาลมาก
    • สปันจ์เค้ก (sponge cake) เป็นเค้กที่ตีไข่ทั้งฟองกับน้ำตาลให้ขึ้นฟู
  • มูสเค้ก (Mousse cake) เป็นเค้กที่ตีไข่ขาวหรือวิปปิ้งครีมให้ฟูก่อนจะผสมกับส่วนผสมอื่น ทำให้เค้กนุ่ม เบา มักใส่เจลาตินเพื่อช่วยให้คงรูป และต้องแช่เย็นไว้จนกว่าจะรับประทาน
  • ชีสเค้ก (cheesecake) เป็นเค้กที่มีครีมชีสเป็นองค์ประกอบหลัก มีทั้งแบบอบ และแบบไม่อบแต่ใสเจลาตินเป็นตัวช่วยให้คงรูปร่าง ต้องแช่เย็นเช่นกัน

ว่านหางจระเข้

ว่านหางจระเข้เป็นต้นพืชที่มีเนื้ออิ่มอวบ จัดอยู่ในตระกูลลิเลี่ยม ( Lilium ) แหล่งกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและบริเวณตอนใต้ของทวีปแอฟริกา พันธุ์ของว่านหางจระเข้มีมากมายกว่า 300 ชนิด ซึ่งมีทั้งพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่มากจนไปถึงพันธุ์ที่มีขนาดเล็กกว่า 10 เซนติเมตร ลักษณะพิเศษของว่านหางจระเข้ก็คือ มีใบแหลมคล้ายกับเข็ม เนื้อหนา และเนื้อในมีน้ำเมือกเหนียว ว่านหางจระเข้ผลิดอกในช่วงฤดูหนาว ดอกจะมีสีต่างๆกัน เช่น เหลือง ขาว และแดง เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุ์ของมัน
คำว่า " อะโล" ( Aloe ) เป็นภาษากรีซโบราณ หมายถึงว่านหางจระเข้ ซึ่งแผลงมาจากคำว่า "Allal" มีความหมายว่า ฝาดหรือขม ในภาษายิว ฉะนั้นเมื่อผู้คนได้ยินชื่อนี้ ก็จะทำให้นึกถึงว่านหางจระเข้ ว่านหางจระเข้เดิมเป็นพืชที่ขึ้นในเขตร้อนต่อมาได้ถูกนำไปแพร่พันธุ์ในยุโรปและเอเชีย และทุกวันนี้ทั่วโลกกำลังเกิดกระแสนิยมว่านหางจระเข้กันเป็นการใหญ่

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ว่านหางจระเข้เป็นพืชอวบน้ำลำต้นสั้นหรือไม่มีลำต้นสูง 60–100 ซม. (24–39 นิ้ว) กระจายพันธุ์โดยตะเกียง ใบหนาอ้วนมีสีเขียวถึงเทา-เขียว บางสายพันธุ์มีจุดสีขาวบนและล่างของโคนใบ[1] ขอบใบเป็นหยักและมีฟันเล็กๆสีขาว ออกดอกในฤดูร้อนบนช่อเชิงลด สูงได้ถึง 90 ซม (35 นิ้ว) ดอกเป็นดอกห้อย วงกลีบดอกสีเหลืองรูปหลอด ยาว 2–3 ซม. (0.8–1.2 นิ้ว)[1][2] ว่านหางจระเข้ก็เหมือนพืชชนิดอื่นในสกุลที่สร้างอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซา (arbuscular mycorrhiza) ขึ้น ซึ่งเป็นสมชีพที่ทำให้พืชดูดซึมสารอาหารและแร่ธาตุในดินได้ดีขึ้น[3]

 อนุกรมวิธาน

รูปแบบมีจุดของว่านหางจระเข้ซึ่งบางครั้งรู้จักกันในชื่อ Aloe vera var. chinensis.
ว่านหางจระเข้ได้รับการจำแนกครั้งแรกโดยคาโรลัส ลินเนียสในปี ค.ศ. 1753 เป็น Aloe perfoliata var. vera และจำแนกอีกครั้งในปี ค.ศ. 1768 โดย นิโคลาส เลาเรนส์ บูร์มัน (Nicolaas Laurens Burman) เป็น Aloe vera ใน Flora Indica ในวันที่ 6 เมษายน และโดย ฟิลิป มิลเลอร์ (Philip Miller) เป็น Aloe barbadensis 10 วันหลังบูร์มันใน Gardener's Dictionary
ด้วยวิธีการเปรียบเทียบ DNA แสดงว่าว่านหางจระเข้เป็นญาติใกล้ชิดกับ Aloe perryi พืชถิ่นเดียวของประเทศเยเมน[6] และด้วยวิธีที่คล้ายกัน ด้วยการเปรียบเทียบการจัดลำดับ DNA ของคลอโรพลาสต์และ ISSR แสดงว่าว่านหางจระเข้ยังเป็นญาติใกล้ชิดกับ Aloe forbesii, Aloe inermis, Aloe scobinifolia, Aloe sinkatana และ Aloe striata ด้วยเช่นกัน ถ้าไม่นับชนิดในแอฟริกาใต้คือ A. striata พืชในสกุล Aloe จะมีถิ่นกำเนิดในเกาะโซโคตร้า (Socotra) ในประเทศเยเมน, ประเทศโซมาเลีย และ ประเทศซูดาน. และเนื่องจากไม่มีการสังเกตถึงประชากรในธรรมชาติทำให้ผู้แต่งบางคนเสนอว่าว่านหางจระเข้อาจมีกำเนิดมาจากลูกผสม

ศัพท์มูลวิทยา

ชื่อพ้องของว่านหางจระเข้ก็มี: A. barbadensis Mill., Aloe indica Royle, Aloe perfoliata L. var. vera และ A. vulgaris Lam.,และชื่อสามัญอื่นก็มี Chinese Aloe, Indian Aloe, true Aloe, Barbados Aloe, burn Aloe และ first aid plant ส่วนอื่นสามัญอื่นในประเทศไทยก็มี ว่านไฟไหม้ (เหนือ) และ หางตะเข้ (กลาง,ตราด) ชื่อสปีชีส์ vera หมายความว่า "ถูกต้อง" หรือ "แท้จริง" ในหนังสือบางเล่มจะระบุบรูปแบบที่เป็นจุดสีขาวของว่านหางจระเข้เป็น Aloe vera var. chinensis อย่างไรก็ตาม ว่านหางจระเข้มีลักษณะของจุดที่ใบหลากหลาย และมีการเสนอว่ารูปแบบจุดของว่านหางจระเข้อาจทำให้มันเป็นชนิดเดียวกันกับ A. massawana

 สรรพคุณทางยา

วุ้นในใบว่านหางจระเข้มีสารเคมีอยู่หลายชนิด เช่น Aloe-cmidin, Aloesin, Aloin, สารประเภท glycoprotein และอื่นๆ ยางที่อยู่ในว่านหางจระเข้มีสาร anthraquinone ทีมีฤทธิ์ขับถ่ายด้วย ใช้ทำเป็นยาดำ มีการศึกษาวิจัยรายงานว่า วุ้นหรือน้ำเมือกของว่านหางจระเข้รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แผลเรื้อรัง และแผลในกระเพาะอาหารได้ดี เพราะวุ้นใบมีสรรพคุณรักษาแผลต่อต้านเชื้อแบคทีเรียช่วยสมานแผลได้ด้วย
Aloe succotrina - Köhler–s Medizinal-Pflanzen-007.jpg

 การเพาะปลูก

ว่านหางจระเข้ปลูกง่าย โดยการใช้หน่ออ่อน ปลูกได้ดีในบริเวณทะเลที่เป็นดินทราย และมีปุ๋ยอุดมสมบูรณ์ดี จะปลูกเอาไว้ในกระถางก็ได้ ในแปลงปลูกก็ได้ ปลูกห่างกันสัก 1-2 ศอก เป็นพืชที่ต้องการน้ำมาก แต่ต้องมีการระบายน้ำดีพอ มิฉะนั้นจะทำให้รากเน่าและตาย ว่านหางจระเข้ชอบแดดรำไร ถ้าถูกแดดจัดใบจะเป็นสีน้ำตาลแดง

กรีฑา

กรีฑา (อังกฤษ: athletics) หมายถึงเฉพาะรายการแข่งขันเกย์หรือกีฬาที่เกี่ยวข้องกับการวิ่งแข่ง การกระโดด การขว้างและการเดินและการอุบุตู้ ประเภทการแข่งขันกรีฑาที่พบแพร่หลายที่สุด คือ ลู่และลาน วิ่งทางเรียบ วิ่งวิบาก และเดินแข่ง ด้วยความเรียบง่ายของการแข่งขัน และไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ราคาแพง ทำให้กรีฑาเป็นหนึ่งในกีฬาที่มีการแข่งขันกันมากที่สุดในโลก โดยมีอาเบะ ยาราไนก้า เป็นผู้ให้รางวัล อุบุนตู้กับผู้ที่ชนะ
กรีฑาซึ่งได้รับการจัดตั้งสามารถสืบย้อนไปได้ถึงกีฬาโอลิมปิกสมัยโบราณนับแต่ 776 ปีก่อนคริสตกาล และรายการแข่งขันกรีฑาสมัยใหม่ส่วนใหญ่มีสโสมรสมาชิกของสหพันธ์กรีฑานานาชาติ (IAAF) กรีฑาเป็นกระดูกสันหลังของโอลิมปิกฤดูร้อนสมัยใหม่ และการชุมนุมระหว่างประเทศชั้นนำอื่น ๆ รวมทั้ง การแข่งขันกรีฑาชิงแชมป์โลก (IAAF World Championships) และการแข่งขันกรีฑาในร่มชิงแชมป์โลก (World Indoor Championships) และกรีฑาสำหรับผู้พิการทางกายแข่งขันกันที่ พาราลิมปิกฤดูร้อน และการแข่งขันกรีฑาชิงแชมป์โลกของคณะกรรมการพาราลิมปิกระหว่างประเทศ (IPC Athletics World Championships)

ประวัติศาสตร์ไทย

ประวัติศาสตร์ไทย
ในการศึกษาประวัติศาสตร์ไทย นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่เริ่มนับตั้งแต่สมัยอาณาจักรสุโขทัยเป็นต้นมา หากแต่ในอาณาเขตประเทศไทย พบหลักฐานของมนุษย์ซึ่งมีอายุเก่าแก่ที่สุดถึงห้าแสนป ทั้งยังมีหลักฐานของอารยธรรมและรัฐโบราณในอาณาเขตดังกล่าวเป็นจำนวนมาก
อาณาจักรสุโขทัยซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 1781 ขยายดินแดนออกไปอย่างกว้างขวางในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช นอกจากนี้ ในรัชสมัยของพระองค์ยังมี แต่เสถียรภาพของอาณาจักรได้อ่อนแอลงภายหลังการสวรรคตของพระองค์ อาณาจักรอยุธยาก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ. 1893 มีความยิ่งใหญ่กว่าอาณาจักรสุโขทัยเดิม เนื่องจากมีการติดต่อกับชาติตะวันตก ก่อนจะล่มสลายลงอย่างสิ้นเชิงใน พ.ศ. 2310 พระยาตากได้รวบรวมไพร่พลกอบกู้เอกราช และย้ายราชธานีมาอยู่ที่กรุงธนบุรี ต่อมา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325
การลงนามในสนธิสัญญาเบาว์ริง ทำให้ชาติตะวันตกหลายชาติเข้ามาทำสนธิสัญญาอันไม่เป็นธรรมอีกหลายฉบับ ต่อมา แม้จะมีการเสียดินแดนหลายครั้งให้แก่ฝรั่งเศสและอังกฤษ แต่อาณาจักรสยามก็ไม่ตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก กุศโลบายของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทำให้ไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง โดยอยู่ฝ่ายเดียวกับฝ่ายพันธมิตร ทำให้สยามได้รับการยอมรับจากนานาประเทศ อันนำมาซึ่งการแก้ไขสนธิสัญญาอันไม่เป็นธรรมทั้งหลาย
วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้มีการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองมาเป็นประชาธิปไตย ทำให้คณะราษฎรเข้ามามีบทบาทในทางการเมือง ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศไทยได้ลงนามเป็นพันธมิตรทางทหารกับญี่ปุ่น ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยได้ดำเนินนโยบายเป็นพันธมิตรกับสหรัฐอเมริกา โดยมีนโยบายต่อต้านการขยายตัวของคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค
หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ประเทศไทยยังถือได้ว่าอยู่ในระบอบเผด็จการในทางปฏิบัติอยู่หลายทศวรรษ ประเทศไทยประสบกับความไร้เสถียรภาพทางการเมือง และได้มีการสืบทอดอำนาจของรัฐบาลทหารผ่านการก่อรัฐประหารหลายสิบครั้ง อย่างไรก็ดี หลังจากนั้นได้มีเหตุการณ์เรียกร้องประชาธิปไตยครั้งสำคัญในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ประชาธิปไตยในประเทศเริ่มมีความมั่นคงยิ่งขึ้น ปัจจุบัน ประเทศไทยกำลังเกิดวิกฤตการณ์การเมือง ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ พ.ศ. 2548

การแบ่งยุคสมัย

การจัดแบ่งยุคทางประวัติศาสตร์ของไทยนั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงแสดงพระทัศนะไว้ในพระนิพนธ์เรื่อง "ตำนานหนังสือพระราชพงศาวดาร" ในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาเมื่อ พ.ศ. 2457 ถึงการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ของไทยไว้ว่า "เรื่องพระราชพงศาวดารสยาม ควรจัดแบ่งเป็น 3 ยุค คือ เมื่อกรุงสุโขทัยเป็นราชธานียุค 1 เมื่อกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานียุค 1 เมื่อกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานียุค 1"[2] ซึ่งการลำดับสมัยทางประวัติศาสตร์แบบเส้นตรง (Linear) โดยวางโครงเรื่องผูกกับกำเนิดและการล่มสลายของรัฐ กล่าวคือใช้รัฐหรือราชธานีเป็นศูนย์กลางเช่นนี้ ยังคงมีอิทธิพลอยู่มากต่อการเข้าใจประวัติศาสตร์ไทยในปัจจุบัน
ในปัจจุบัน มีข้อเสนอใหม่ ๆ เกี่ยวกับโครงเรื่องประวัติศาสตร์ไทยขึ้นมาบ้าง ที่สำคัญคือ ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ได้เสนอถึงหัวข้อสำคัญที่ควรเป็นแกนกลางของประวัติศาสตร์แห่งชาติไทยไว้ 8 หัวข้อ ดังนี้[3]

ยุคก่อนประวัติศาสตร์และรัฐโบราณในประเทศไทย

แผนที่แสดงรัฐโบราณในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบัน
- ชนพื้นเมืองและการอพยพเข้ามาในประเทศไทย - นักมานุษยวิทยาได้จัดประเภทมนุษย์สมัยโบราณรุ่นแรกในตระกูลออสโตเนเซียน ซึ่งเป็นพวกที่อพยพเข้ามาในประเทศไทยเมื่อหลายพันปีที่แล้ว รวมทั้งเป็นบรรพบุรุษของชนชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ปัจจุบัน ต่อมา มนุษย์ในตระกูลมอญและเขมรจะอพยพเข้ามาจากจีนหรืออินเดียด้วย ก่อนที่พวกไทยจะอพยพเข้ามาแย่งชิงดินแดนจากพวกละว้า ซึ่งเป็นชนชาติล้าหลังวัลลภา รุ่งศิริแสงรัตน์. ชาวเขาที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยปัจจุบันจึงสันนิษฐานว่าสืบเชื้อสายมาจากพวกละว้า>

แนวคิดเกี่ยวกับถิ่นกำเนิดของชนชาติไท

รัฐโบราณในประเทศไทย

จากหลักฐานด้านโบราณคดี ตำนาน นิทานพื้นบ้าน บันทึกราชการของจีน และบันทึกของพระภิกษุจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในพุทธศตวรรษที่ 12 ทำให้ทราบว่ามีอารยธรรมมนุษย์ได้สถาปนาอำนาจในประเทศไทยเป็นเวลานานแล้วโดยอาณาจักรโบราณในดินแดนประเทศไทยปัจจุบัน สามารถจำแนกได้ดังรายชื่อด้านล่าง

สมัยอาณาจักรสุโขทัย และยุครุ่งเรืองของอาณาจักรล้านนา

การล่มสลายของจักรวรรดิขะแมร์เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 13 ทำให้เกิดอาณาจักรสุโขทัย ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 1781 อาณาจักรสุโขทัยขยายดินแดนออกไปอย่างกว้างขวางในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช แต่เสถียรภาพของอาณาจักรได้อ่อนแอลงภายหลังการสวรรคตของพระองค์[6] ลักษณะการปกครองเป็นแบบพ่อปกครองลูก เนื่องจากมีความใกล้ชิดระหว่างผู้ปกครองและราษฎร แต่ในรัชสมัยพญาลิไทก็ได้มีการเปลี่ยนรูปแบบการปกครองมาเป็นธรรมราชา จากการรับอิทธิพลของศาสนาพุทธเข้ามา
ในช่วงเวลาเดียวกันอาณาจักรล้านนา ได้ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 1802 โดยพญามังราย ที่ขยายอำนาจมาจากลุ่มแม่น้ำกกและอิง สู่ลุ่มแม่น้ำปิง พญามังรายได้สร้างเมืองเชียงใหม่ และทรงมีสัมพันธ์อันดีกับพ่อขุนรามคำแหงแห่งสุโขทัย อาณาจักรเชียงใหม่หรือล้านนา มีอำนาจสืบต่อมาในแถบลุ่มแม่น้ำปิง เชียงใหม่มีความสัมพันธ์ที่ไม่ราบรื่นนักกับอาณาจักรอยุธยา หรือกรุงศรีอยุธยา ที่เรืองอำนาจในพุทธศตวรรษที่ 19-20 มีการทำสงครามผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะอย่างต่อเนื่อง ในที่สุดเชียงใหม่ได้ปราชัยต่อพม่า ในปีพ.ศ. 2101 ถูกพม่ายึดครองอีกครั้งในราวปี 2310 กระทั่งเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2318 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และ พระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ ได้ทรงขับไล่พม่าออกจากดินแดนล้านนา โดยหลังจากนั้น พระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ ได้ทรงปกครองอาณาจักรล้านนา ในฐานะประเทศราชสยาม

สาเหตุการเลือกอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย

นักวิชาการให้เหตุผลในการเลือกเอาอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทยไว้ 2 เหตุผล ได้แก่:
  1. วิชาประวัติศาสตร์มักจะยึดเอาการที่มนุษย์เริ่มมีภาษาเขียนเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ หลักฐานประเภทลายลักษณ์ถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ซึ่งเมื่อประกอบกับการประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช จึงเหมาะสมที่จะเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย
  2. เป็นการสะดวกในด้านการนับเวลาและเหตุการณ์ที่ต่อเนื่องกัน ทั้งนี้ นักประวัติศาสตร์มีหลักฐานความสืบเนื่องกันตั้งแต่สมัยสุโขทัยมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์จนถึงปัจจุบัน
ทั้งนี้ เหตุผลทั้งสองประการก็ยังไม่เป้นที่ยอมรับกันอย่างเป็นเอกฉันท์นัก[7]

สมัยอาณาจักรอยุธยา

ดูบทความหลักที่ อาณาจักรอยุธยา
พระเจ้าอู่ทองทรงก่อตั้งอาณาจักรอยุธยาในปี พ.ศ. 1893 ซึ่งในช่วงแรกนั้นก็มิได้เป็นศูนย์กลางของชาวไทยในดินแดนคาบสมุทรอินโดจีนทั้งปวง แต่ด้วยความเข้มแข็งที่ทวีเพิ่มขึ้นประกอบกับวิธีการทางการสร้างความสัมพันธ์กับชาวไทยกลุ่มต่าง ๆ ในที่สุดอยุธยาก็สามารถรวบรวมกลุ่มชาวไทยต่าง ๆ ในดินแดนแถบนี้ให้เข้ามาอยู่ภายใต้อำนาจได้ นอกจากนี้ยังกลายมาเป็นรัฐมหาอำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างรวดเร็ว
การเข้าแทรกแซงสุโขทัยอย่างต่อเนื่องทำให้อาณาจักรสุโขทัยตกเป็นประเทศราชของอาณาจักรอยุธยาในที่สุด สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงปฏิรูปการปกครองโดยการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง การยึดครองมะละกาของโปรตุเกสในปี พ.ศ. 2054 ทำให้อยุธยาเริ่มการติดต่อกับชาติตะวันตก ในสมัยอาณาจักรอยุธยามีการติดต่อกับต่างประเทศอยู่หลายชาติ โดยชาวโปรตุเกสได้เดินทางมายังกรุงศรีอยุธยาในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 หลังจากนั้น ชาติที่เข้ามาอาศัยอยู่ในกรุงศรีอยุธยาเป็นจำนวนมากและมีบทบาทสำคัญ ได้แก่ ชาวดัตช์ ชาวฝรั่งเศส ชาวจีน และชาวญี่ปุ่น
ราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 เมื่อราชวงศ์ตองอูของพม่าเริ่มมีอำนาจมากขึ้น การสงครามอันยาวนานนับตั้งแต่ พ.ศ. 2091 ส่งผลให้อยุธยาตกเป็นประเทศราชของอาณาจักรตองอูในที่สุด ก่อนที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชจะทรงประกาศอิสรภาพในอีก 15 ปีต่อมา
อาณาจักรอยุธยาเป็นอาณาจักรที่มีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาล จากทิศเหนือจรดอาณาจักรล้านนา ไปจรดคาบสมุทรมลายูทางทิศใต้ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของอยุธยารุ่งเรืองขึ้นอย่างมากในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช อย่างไรก็ตาม ความสงสัยในตัวของคอนสแตนติน ฟอลคอน ทำให้ถูกสังหารโดยพระเพทราชา อาณาจักรอยุธยาเริ่มเสื่อมอำนาจลงราวพุทธศตวรรษที่ 24 การทำสงครามกับพม่าหลังจากนั้นส่งผลทำให้อยุธยาถูกปล้นสะดมและเผาทำลาย เมื่อปี พ.ศ. 2310

สมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์

รัชสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น

ดูบทความหลักที่ อาณาจักรธนบุรี
ในปี พ.ศ. 2310-2325 เริ่มต้นหลังจากที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ขับไล่ทหารพม่าออกจากแผ่นดินไทย ทำการรวมชาติ และได้ย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่กรุงธนบุรี โดยจัดตั้งการเมืองการปกครอง มีลักษณะการเมืองการปกครองยังคงดำรงไว้ซึ่งการเมืองการปกครองภายในสมัยอยุธยาอยู่ก่อน โดยมีพระมหากษัตริย์มีอำนาจเด็ดขาดในการเมืองการปกครอง อย่างไรก็ตาม ภายหลังสิ้นรัชสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้สถาปนาตนขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี และทรงย้ายเมืองหลวงมายังกรุงเทพมหานคร เริ่มยุคสมัยแห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1790 กองทัพพม่าถูกขับไล่ออกจากดินแดนรัตนโกสินทร์อย่างถาวร และทำให้แคว้นล้านนาปลอดจากอิทธิพลของพม่าเช่นกัน โดยล้านนาถูกปกครองโดยราชวงศ์ที่นิยมราชวงศ์จักรีนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จนกระทั่งถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรสยามอย่างเป็นทางการ
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ไทยยังเผชิญกับการรุกรานจากประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ สงครามเก้าทัพ, สงครามท่าดินแดงกับพม่า ตลอดจนกบฏเจ้าอนุวงศ์กับลาว และอานามสยามยุทธกับญวน
ในช่วงนี้ กรุงรัตนโกสินทร์ยังไม่ค่อยมีการติดต่อค้าขายกับชาติตะวันตกมากนัก ต่อมาเมื่อชาวตะวันตกเริ่มเข้ามาค้าขายอีก ได้ตระหนักว่าพวกพ่อค้าจีนได้รับสิทธิพิเศษเหนือคนไทยและพวกตน จึงได้เริ่มเรียกร้องสิทธิพิเศษต่าง ๆ มาโดยตลอด[8] มีการเดินทางเยือนของทูตหลายคน อาทิ จอห์น ครอเฟิร์ต ตัวแทนจากบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ[8] ซึ่งเข้ามาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย แต่ยังไม่บรรลุข้อตกลงใด ๆ สนธิสัญญาที่มีการลงนามในช่วงนี้ เช่น สนธิสัญญาเบอร์นี และสนธิสัญญาโรเบิร์ต[8] แต่ก็เป็นเพียงข้อตกลงที่ไม่มีผลกระทบมากนัก และชาวตะวันตกไม่ค่อยได้รับสิทธิพิเศษเพิ่มมากขึ้นแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม ได้มีคณะทูตตะวันตกเข้ามาเสนอสนธิสัญญาข้อตกลงทางการค้าอยู่เรื่อย ๆ เพื่อขอสิทธิทางการค้าให้เท่ากับพ่อค้าจีน และอังกฤษต้องการเข้ามาค้าฝิ่นอันได้กำไรมหาศาล[8] แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ทั้งคณะของเจมส์ บรุคจากอังกฤษ และโจเซฟ บัลเลสเตียร์จากสหรัฐอเมริกา ทำให้ชาวตะวันตกขุ่นเคืองต่อราชสำนัก

การเผชิญหน้ากับมหาอำนาจตะวันตก

ดูเพิ่มที่ สยาม
ภายหลังจากที่พม่าตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษในปี พ.ศ. 2369 พระมหากษัตริย์ไทยในรัชสมัยถัดมาจึงทรงตระหนักถึงภัยคุกคามที่มาจากชาติมหาอำนาจในทวีปยุโรป และพยายามดำเนินนโยบายทอดไมตรีกับชาติเหล่านั้น อย่างไรก็ตาม สยามมีการเปลี่ยนแปลงดินแดนหลายครั้ง รวมทั้งตกอยู่ในสถานะรัฐกันชนระหว่างอังกฤษและฝรั่งเศส ถึงกระนั้น สยามก็ไม่ตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก และเป็นเพียงประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่สามารถรักษาเอกราชของตนไว้ได้

การเปลี่ยนแปลงการปกครองของไทย

ดูบทความหลักที่ การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475
เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้มีกลุ่มบุคคลที่เรียกว่า คณะราษฎร ได้ทำการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครอง จากสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ เป็นเหตุการณ์ที่สร้างความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองการปกครองของประเทศไทยอย่างมาก และทำให้สถาบันกษัตริย์ที่เคยเป็นผู้ปกครองสูงสุดของประเทศมาช้านานต้องสูญเสียอำนาจส่วนใหญ่ไปในที่สุด โดยมีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2475 ขึ้นเป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยอย่างถาวรเป็นฉบับแรก
ภายหลังจากเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงดังกล่าว การต่อสู้ทางการเมืองยังคงมีการต่อสู้กันระหว่างผู้นำในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช กับระบอบใหม่ รวมทั้งความขัดแย้งในผู้นำระบอบใหม่ด้วยกันเอง โดยการต่อสู้ทางการเมืองและทางความคิดอุดมการณ์นี้ได้ดำเนินต่อเนื่องยาวนานเป็นเวลากว่า 25 ปีภายหลังจากการปฏิวัติ และนำไปสู่ยุคตกต่ำของคณะราษฎรในกาลต่อมา ทำให้การเปลี่ยนแปลงการปกครองดังกล่าวถูกมองว่าเป็นพฤติการณ์ "ชิงสุกก่อนห่าม" เนื่องจากชาวไทยยังไม่พร้อมสำหรับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อีกทั้งการปกครองในระยะแรกหลังการปฏิวัติยังคงอยู่ในระบอบเผด็จการทหาร

สงครามโลกครั้งที่สอง

ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ได้มีการเดินขบวนเรียกร้องให้รัฐบาลเอาดินแดนคืนของนิสิตนักศึกษา จอมพลแปลก พิบูลสงคราม จึงส่งทหารข้ามแม่น้ำโขงและรุกรานอินโดจีนฝรั่งเศส จนได้ดินแดนคืนมา 4 จังหวัด ภายหลังการเข้าไกล่เกลี่ยของญี่ปุ่น โดยมีการรบที่เป็นที่รู้จักกันมาก ได้แก่ การรบที่เกาะช้าง
ต่อมา หลังจากการโจมตีกองทัพเรือสหรัฐอเมริกาที่เพิร์ลฮาร์เบอร์ กองทัพญี่ปุ่นก็ได้รุกรานประเทศไทย โดยต้องการเคลื่อนทัพผ่านดินแดน รัฐบาลจอมพลแปลก พิบูลสงครามได้ดำเนินนโยบายเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น รวมทั้งลงนามในสนธิสัญญาพันธมิตรทางการทหารกับญี่ปุ่น และประกาศสงครามต่อสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร ซึ่งนโยบายดังกล่าวของรัฐบาลถูกต่อต้านจากทั้งในและนอกประเทศ เนื่องจากไทยประสบกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ
หลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2488 แม้ว่าประเทศไทยจะตกอยู่ในสถานะประเทศผู้แพ้สงคราม แต่เนื่องจากการเคลื่อนไหวของขบวนการเสรีไทย ทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรยอมรับ และไม่ถูกยึดครอง เพียงแต่ต้องคืนดินแดนระหว่างสงครามให้กับอังกฤษและฝรั่งเศส และจ่ายค่าเสียหายทดแทนเท่านั้น

สงครามเย็น

รัฐบาลไทยได้ดำเนินนโยบายเป็นพันธมิตรของสหรัฐอเมริกาในระหว่างสงครามเย็น ดังจะเห็นได้จากนโยบายต่อต้านการขยายตัวของคอมมิวนิสต์ในคาบสมุทรอินโดจีน และยังส่งทหารไปร่วมรบกับฝ่ายพันธมิตร ได้แก่ สงครามเกาหลี และสงครามเวียดนาม
ประเทศไทยประสบกับปัญหากองโจรคอมมิวนิสต์ในประเทศระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1960 และ 1970 อย่างไรก็ตาม ปัญหาดังกล่าวก็ไม่ค่อยจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศสักเท่าไหร่ และกองโจรก็หมดไปในที่สุด

การพัฒนาประชาธิปไตย

หลังจากปัจจัยแวดล้อมด้านต่าง ๆ ได้รับการพัฒนาขึ้น ประชาชนมีความพร้อมต่อการใช้อำนาจอธิปไตยเพิ่มมากขึ้น การเรียกร้องอำนาจอธิปไตยคืนจากฝ่ายทหารก็เกิดขึ้นเป็นระยะ กระทั่งในที่สุด ภายหลังจากเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ฝ่ายทหารก็ไม่สามารถถือครองอำนาจอธิปไตยได้อย่างถาวรอีกต่อไป อำนาจอธิปไตยจึงได้เปลี่ยนไปอยู่ในมือของกลุ่มนักการเมือง ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มบุคคลสามกลุ่มหลัก คือ กลุ่มทหารที่เปลี่ยนบทบาทมาเป็นนักการเมือง กลุ่มนายทุนและผู้มีอิทธิพล และกลุ่มนักวาทศิลป์ แต่ต่อมาภายหลังจากการสิ้นสุดลงของยุคสงครามเย็น โลกได้เปลี่ยนมาสู่ยุคการแข่งขันกันทางการค้าซึ่งมีความรุนแรงเป็นอย่างมาก กลุ่มการเมืองที่มาจากกลุ่มทุนนิยมสมัยใหม่ได้เข้ามามีบทบาทแทน

หอนาฬิกาบิกเบน

หอนาฬิกาพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ (Clock Tower, Palace of Westminster) หรือรู้จักดีในชื่อ บิ๊กเบน เป็นหอนาฬิกาประจำพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ ซึ่งในปัจจุบันใช้เป็นรัฐสภาอังกฤษ ตั้งอยู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพระราชวัง หอนาฬิกานี้ถูกสร้างหลังจากไฟไหม้พระราชวังเวสต์มินสเตอร์เดิม เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2377 โดยชาลส์ แบร์รี เป็นผู้ออกแบบ หอนาฬิกามีความสูง 96.3 เมตร โดยที่ตัวนาฬิกาอยู่สูงจากพื้น 55 เมตร ตัวอาคารสร้างด้วยสถาปัตยกรรมสมัยสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย (victorian gothic)
หลายคนเข้าใจว่าบิ๊กเบนเป็นชื่อหอนาฬิกาประจำรัฐสภาอังกฤษ แต่แท้ที่จริงแล้ว บิ๊กเบนเป็นชื่อเล่นของระฆังใบใหญ่ที่สุด หนักถึง 13,760 กิโลกรัม ซึ่งแขวนไว้บริเวณช่องลมเหนือหน้าปัดนาฬิกา ทั้งนี้มีระฆังรวมทั้งสิ้น 5 ใบ โดย 4 ใบจะถูกตีเป็นทำนอง ส่วนบิ๊กเบนจะถูกตีบอกชั่วโมงตามตัวเลขที่เข็มสั้นชี้บนหน้าปัดนาฬิกา ทว่าคนส่วนใหญ่กลับใช้ชื่อบิ๊กเบนเรียกตัวหอทั้งหมด
บางทีมักเรียกหอนาฬิกานี้ว่า หอเซนต์สตีเฟน (St. Stephen's Tower) หรือหอแห่งบิ๊กเบน (Tower of Big Ben) ซึ่งที่จริงแล้วชื่อหอเซนต์สตีเฟนคือชื่อของหอในพระราชวังอีกหอหนึ่ง ซึ่งใช้เป็นทางเข้าไปอภิปรายในสภา ปัจจุบันภายในหอนาฬิกาไม่เปิดให้สาธารณชนเข้าชม เว้นแต่สำหรับผู้ที่อาศัยในประเทศอังกฤษ จะต้องทำเรื่องขอเข้าชมผ่านสมาชิกรัฐสภาอังกฤษประจำท้องถิ่นของตน ถ้าเป็นเด็กต้องมีอายุเกิน 11 ปี จึงจะเข้าชมหอได้ สำหรับชาวต่างประเทศนั้นยังไม่อนุญาตให้ขึ้นไป

โครงสร้างอาคาร
หน้าปัดนาฬิกามีจารึกถวายพระพรสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียอยู่ด้านล่างหน้าปัดเป็นสีทอง รูปคนที่ใส่ไว้บนหน้าปัดแสดงถึงขนาดของหน้าปัด
หอนาฬิกาพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ มีความสูงทั้งหมด 96.3 เมตร โดยในช่วง 61 เมตรแรก เป็นอาคารก่อด้วยอิฐ บุด้วยหิน ส่วนที่สูงจากนั้นเป็นยอดแหลมทำด้วยเหล็กหล่อ ตัวหอตั้งอยู่บนฐานกว้าง 15 เมตร ยาว 15 เมตร หนา 3 เมตร อยู่ใต้ดินลึก 7 เมตร ตัวหอทั้งหมดหนักโดยประมาณ 8,667 ตัน หน้าปัดนาฬิกาทั้งสี่ด้านอยู่สูงจากพื้น 55 เมตร เนื่องจากสภาพดินในขณะที่มีการก่อสร้างหอ ทำให้ตัวหอค่อนข้างเอนไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 220 มิลลิเมตร [3]

[แก้] หน้าปัดนาฬิกา

ครั้งหนึ่ง หน้าปัดนาฬิกาของหอมีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก แต่ปัจจุบันถูกทำลายสถิติโดยหอนาฬิกาอัลเลน-แบร็ดเลย์ (Allen-Bradley Clock Tower) ที่รัฐวิสคอนซิน สหรัฐอเมริกา ทว่าผู้สร้างหอนาฬิกาอัลเลน-แบร็ดเลย์มิได้จัดให้มีการตีระฆังหรือสายลวดบอกเวลา จึงทำให้หอนาฬิกาพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ยังคงเป็น นาฬิกาสี่หน้าปัดที่มีการตีบอกเวลาที่ใหญ่ที่สุดในโลก กลไกนาฬิกาภายในหอสร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2397 แต่ตัวหอเสร็จในเวลา 4 ปีต่อมา
หน้าปัดนาฬิกาถูกออกแบบโดยออกุสตุส ปูจิน (Augustus Pugin) ตัวหน้าปัดทำด้วยโครงเหล็กกว้างและยาว 7 เมตร ประดับด้วยกระจก 576 ชิ้น เข็มสั้นมีความยาว 2.7 เมตร เข็มยาวมีความยาว 4.3 เมตร รอบ ๆ หน้าปัดประดับด้วยลายทองอย่างวิจิตร ใต้หน้าปัดสลักดุนเป็นข้อความภาษาละตินว่า DOMINE SALVAM FAC REGINAM NOSTRAM VICTORIAM PRIMAM ซึ่งแปลว่า "โอ้ พระเจ้าข้า จงประทานความปลอดภัยให้พระนางวิกตอเรียด้วยเถิด"
นาฬิกาเริ่มเดินครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2402 ต่อมาในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพเยอรมันได้ทิ้งระเบิดทำลายรัฐสภาอังกฤษ และทำความเสียหายให้กับหน้าปัดด้านทิศตะวันตกเป็นอย่างมาก

ระฆัง "บิ๊กเบน"

"บิ๊กเบน" หรือมหาระฆัง
ระฆังที่แขวนไว้ในหอนาฬิกาพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ มีชื่ออย่างเป็นทางการว่ามหาระฆัง (The Great Bell) โดยทำการหล่อครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2399 โดยวอร์เนอร์ออฟคริปเปิลเกต (Warner's of Cripplegate) หนัก 14.5 ตัน มีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่า เบนจามิน ฮอลล์(Benjamin Hall) เป็นแม่กองในการหล่อครั้งแรกนี้ จึงใช้ชื่อเล่นของเขาเป็นชื่อเล่นของระฆัง บางที่ก็ว่าระฆังอาจถูกตั้งชื่อหลังจากที่นักมวยรุ่นเฮฟวี่เวตชื่อ เบนจามิน เคานต์(Benjamin Caunt)
มหาระฆังหรือบิ๊กเบน เป็นระฆังหนึ่งในห้าใบที่แขวนไว้ในหอนาฬิกาพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ เมื่อตีจะให้เสียงโน้ต "ลา" ส่วนระฆังอีกสี่ใบที่เหลือมีเสียงโน้ต ซอลสูง ฟาสูง มี และที ตามลำดับ
ขณะที่หอนาฬิกายังสร้างไม่เสร็จ มหาระฆังที่ถูกแขวนไว้ในพระราชอุทยานพระราชวังเวสต์มินสเตอร์แตกเมื่อถูกตีด้วยค้อนที่หนักเกินไป จึงให้หล่อใหม่ที่บริษัทระฆังไวต์แชพเพล (Whitechapel Bell Foundry) ครั้งนี้ระฆังหนัก 13.76 ตัน สูง 2.2 เมตร และกว้าง 2.6 เมตร ถูกนำขึ้นแขวนในห้องระฆังบริเวณช่องลมของตัวหอ เมื่อปี พ.ศ. 2446 พร้อมด้วยระฆังเล็ก ใช้เวลาทั้งสิ้น 18 ชั่วโมง จึงสำเร็จ ต่อมาในเดือนกันยายนของปีถัดมา มหาระฆังก็ร้าว แต่ก็แก้ไขโดยการหมุนระฆังมิให้ส่วนที่ร้าวถูกตี และก็ไม่ได้ทำการซ่อมแซมมาจนถึงปัจจุบัน
ที่หอนาฬิกามีการตีระฆังเล็กทุก ๆ 15 นาที เป็นทำนองระฆังแบบเวสต์มินสเตอร์ และจะตีด้วยทำนองที่ต่างกันเล็กน้อยทุก 15 นาที เมื่อครบหนึ่งชั่วโมง จะมีการตีระฆังเล็ก ตามด้วยเสียงของบิ๊กเบนตามจำนวนเลขที่เข็มสั้นชี้ เมื่อได้ฟังแล้วก็จะเป็นที่จับใจยิ่งนัก จนกระทั่งเสียงนี้เป็นที่นิยม ทั้งนาฬิกาตั้งในบ้านและหอนาฬิกา เสียงของระฆังในหอนาฬิกาถูกนำออกอากาศทุกวัน ผ่านทางสถานีวิทยุบีบีซีช่อง 4 ก่อนข่าวภาคค่ำ (เวลา 18 นาฬิกา) และข่าวเที่ยงคืน ตามเวลาท้องถิ่นประเทศอังกฤษ

หอนาฬิกาที่ได้แรงบันดาลใจจากหอนาฬิกาพระราชวังเวสต์มินสเตอร์
มีการสร้างหอนาฬิกานามว่า ลิตเติ้ลเบน สูง 6 เมตร ไว้ใกล้สถานีรถไฟวิกตอเรีย กรุงลอนดอน ลักษณะคล้ายกับหอนาฬิกาพระราชวังเวสต์มินสเตอร์เกือบทุกประการ นอกจากนี้ ยังมีนาฬิกาที่สร้างภายหลัง โดยได้แรงบันดาลใจจากหอนาฬิกานี้ เช่น
  • หอนาฬิกาที่แกร์ เดอ ลียง (Gare de Lyon) ในกรุงปารีส
  • หอสันติภาพ ที่รัฐสภาแคนาดา กรุงออตตาวา
  • หอนาฬิกาโจเซฟ แชมเบอร์เลน "โอลด์โจ" ที่มหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม
 ความเที่ยงตรงและเหตุขัดข้อง
ภาพเจ้าหน้าที่กำลังซ่อมแซมและทำความสะอาดหน้าปัดนาฬิกา เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2550
นาฬิกาประจำหอนั้นมีชื่อเสียงอย่างมากในด้านความเที่ยงตรง โดยกลไกนาฬิกาถูกออกแบบโดยเอ็ดมุนด์ เบ็กเกตต์ เดนิสัน (Edmund Beckett Denison) และถูกสร้างขึ้นโดยเอ็ดเวิร์ด จอห์น เดนต์ (Edward John Dent) กลไกของนาฬิกาถูกสร้างขึ้นก่อนตัวหอเสร็จถึง 4 ปี ทำให้เอ็ดมุนด์ เดนิสัน มีเวลาที่จะทดสอบความแม่นยำ ซึ่งแทนที่เขาจะใช้กลไกแบบลูกตุ้มแกว่งไม่หยุด (deadbeat escapement) ซึ่งสึกหรอง่าย เพราะลูกตุ้มยังแกว่งแม้เฟืองจะล็อกแล้ว แต่เขากลับใช้กลไกแบบอาศัยแรงโน้มถ่วง (gravity escapement) ประกอบด้วยลูกตุ้มและตัวขับลูกตุ้ม (escapement) บรรจุในกล่องกันลมอย่างดีและเก็บอยู่ที่ใต้ห้องนาฬิกา จนทำให้นาฬิกามีความแม่นยำอย่างยิ่ง กลไกที่เป็นเฟืองของนาฬิกาทั้งหมดวางอยู่บนโต๊ะรองรับสีเขียวแก่ ที่ขอบโต๊ะจารึกข้อความเป็นสีทองว่า "THIS CLOCK WAS MADE IN THE YEAR OF OUR LORD 1854 BY FREDERICK DENT OF THE STRAND AND THE ROYAL EXCHANGE, CLOCKMAKER TO THE QUEEN, FROM THE DESIGNS OF EDMUND BECKETT DENISON Q.C." แปลเป็นไทยได้ว่า " นาฬิกาเรือนนี้สร้างขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช 2397 (ค.ศ. 1854) โดยเฟรเดอริก เดนต์ เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย โดยการออกแบบของเอ็ดมุนด์ เบ็กเกตต์ เดนิสัน"
ลูกตุ้มนาฬิกาสามารถปรับตั้งได้เสมอโดยการใส่เหรียญเพนนีที่ลูกตุ้มของนาฬิกา เพื่อเปลี่ยนตำแหน่งศูนย์กลางมวลของลูกตุ้ม ทำให้คาบการเคลื่อนที่เปลี่ยน ถ้าใส่เหรียญลงไปนาฬิกาก็เดินช้าลง แต่ถ้าเอาออกก็จะเร็วขึ้น จนเกิดสำนวนอังกฤษว่า putting a penny on แปลเป็นสำนวนไทยว่า โอ้เอ้วิหารราย คือทำตัวโอ้เอ้ หรือทำให้ช้ายืดยาด
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ถึงแม้บริเวณรายรอบจะถูกโจมตีด้วยระเบิดจากนาซีเยอรมัน แต่นาฬิกาก็ยังเดินได้อย่างแม่นยำ ทว่าช่วงวันขึ้นปีใหม่ พ.ศ. 2505 เกิดหิมะตกหนักมากจนนาฬิกาตีบอกเวลาปีใหม่ช้าไป 10 นาที
เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2519 นาฬิกาหยุดทำงานครั้งใหญ่อันเนื่องจากกลไกการตีระฆังเสียหายเพราะโลหะเสื่อมสภาพตามกาลเวลา รัฐบาลจึงได้มีการปรับปรุง และแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม ในปีถัดมา ซึ่งในช่วงระหว่างนั้น แทนที่สถานีวิทยุบีบีซีจะได้ออกอากาศเสียงระฆัง กลับต้องใช้สัญญาณเวลาแทน
นาฬิกาหยุดทำงานอีกครั้งเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2547 และหยุดอีกครั้งในสามสัปดาห์ให้หลัง หนึ่งปีหลังจากนั้นก็หยุดอีกเป็นเวลา 90 นาที เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 โดยคาดว่าสาเหตุเนื่องจากอากาศในกรุงลอนดอนในขณะนั้นร้อนกว่าปกติ คือ 31.8 °C  อีก 5 เดือนถัดมา เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2548 นาฬิกาหยุดทำงานเพื่อซ่อมบำรุง นานถึง 33 ชั่วโมง
ล่าสุดเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2549 เวลา 14:00 น. (เวลามาตรฐานประเทศไทย) ตะขอแขวนระฆังเล็กใบหนึ่งสึกหรอจนต้องซ่อมแซมเป็นเวลา 4 สัปดาห์ และเมื่อเวลา 15:00 น. (มาตรฐานประเทศไทย) ของวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2550 หอนาฬิกาหยุดการตีมหาระฆังเพื่อบอกชั่วโมงเป็นการชั่วคราว (ประมาณ 6 สัปดาห์) เนื่องจากกลไกในระฆังสึกหรอตามกาลเวลาเป็นอย่างมาก โดยบางชิ้นส่วนยังไม่ได้เปลี่ยนเลยตั้งแต่ที่สร้างหอ อนึ่ง นาฬิกาในหอยังคงทำงานต่อไปโดยใช้มอเตอร์ไฟฟ้าขับเคลื่อนแทนเครื่องกลของเดิม แผนการดังกล่าวเป็นการเตรียมการฉลองครบรอบ 150 ปี ของหอนาฬิกาพระราชวังเวสต์มินสเตอร์และมหาระฆัง

ระบบอวัยวะของร่างกายมนุษย์

ระบบอวัยวะของร่างกายมนุษย์

ลักษณะทางชีวภาพที่บ่งบอกถึงการเป็นมนุษย์ คือ ลักษณะทางกายและชีวภาพ ซึ่งมีโครงสร้างซับซ้อน โดยเริ่มจากระดับโมเลกุล เซลล์ เนื้อเยื่อ และอวัยวะ โครงสร้างทุกระดับรวมกันเรียกว่าระบบอวัยวะ ระบบการทำงานของอวัยวะต่างๆภายในร่างกายล้วนเป็นเรื่องน่าพิศวง โดยธรรมชาติได้มีการจัดระบบต่างๆขึ้นอย่างมีระเบียบ ได้แก่ ระบบห่อหุ้มร่างกาย ระบบโครงกระดูก ระบบกล้ามเนื้อ ระบบประสาท ระบบหายใจ ระบบต่อมไร้ท่อ ระบบย่อยอาหาร ระบบไหลเวียนโลหิต ระบบขับถ่าย ระบบสืบพันธุ์ มีการทำงานประสานกันอย่างอัตโนมัติ ดังนั้นจึงควรเรียนรู้ให้เข้าใจเพื่อรู้วิธีดูแลรักษาให้ดำรงประสิทธิภาพการทำงานของอวัยวะต่างๆเหล่านั้นให้สามารถใช้ประโยชน์อย่างสูงแก่ชีวิตของเราให้นานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
1.1 การจัดระบบของร่างกาย
ร่างกายของคนเรา ประกอบด้วยส่วนเล็กที่สุด คือ อะตอม ยึดกันเป็นโมเลกุล และโมเลกุลมีการจัดโครงสร้างเรียกว่าเซลล์ (Cell) เซลล์เหล่านี้ประกอบขึ้นจากการรวมของแร่ธาตุต่างๆ ซึ่งมักมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น รูปร่างแตกต่างกัน รูปทรงของเซลล์จะเหมาะกับลักษณะของงานที่ทำ เช่น เซลล์ประสาทมีแขนงมากมายซึ่งจะทำหน้าที่ส่งข้อมูลข่าวสารระหว่างเซลล์ เซลล์ชนิดเดียวกันเมื่อรวมกันเข้าเป็นกลุ่มและทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่ง เราเรียกว่าเนื้อเยื่อ (Tissue) และเนื้อเยื่อต่างๆยังประกอบกันเข้าเป็นกล้ามเนื้อและอวัยวะอื่นๆได้อีกมากมาย
1.2 การทำงานของร่างกาย
คุณสมบัติที่สำคัญของสิ่งมีชีวิตคือการเคลื่อนไหว ดังนั้น ร่างกายของคนเรา จะต้องมีอำนาจหรือพลังอย่างใดอย่างหนึ่งที่สามารถทำหใเกิดการเคลื่อนไหว พลังงานหรือกำลังงานนี้ร่างกายได้มาจากอาหารที่เรารับประทานเข้าไป ภายในร่างกายของคนเรานั้นย่อมมีการเคลื่อนไหวหรือมีการทำงานอยู่ตลอดเวลา แม้แต่อยู่เฉยๆ ปอดก็จะต้องทำหน้าที่หายใจ และหัวใจก็จะต้องทำหน้าที่สูบฉีดโลหิต หรือเมื่อเวลาคนเรารับประทานอาหารเข้าไปนั้นการย่อยก็คือการเคลื่อนไหวหรือการทำงานเช่นเดียวกัน พลังงานทั้งหลายเหล่านี้ เซลล์ต่างๆทำหน้าที่เป็นผู้จัดการผลิตและขนส่งไปให้ได้ใช้กันทั่งร่างกาย
เราทราบกันแล้วว่า พลังงาน คือ ความสามารถในการทำงาน ( พลังงานเป็นสิ่งที่ไม่มีตัวตน ไม่มีน้ำหนักและมองไม่เห็น เราจะทราบว่าสิ่งใดมีพลังงานเท่าไร่นั้นหาได้จากผลงานสิ่งนั้นทำ ) ร่างกายของคนเราทุกคนจำเป็นต้องใช้พลังงานเพื่อเคลื่อไหวหรือทำงานหรืออย่างน้อยก็เพื่อการที่จะดำรงชีวิตอยู่ เช่น ในการหายใจของปอดหรือการเต้นของหัวใจดังได้กล่าวมาแล้วเป็นต้น พลังงานต่างๆ เหล่านี้ ร่างกายได้รับมาจากการเผาผลาญอาหารภายในเซลล์ของร่างกายโดยตลอดเวลา การเผาผลาญอาหารภายในเซลล์เหล่านี้ แม้จะไม่เป็นไปอย่างรวดเร็วเหมือนกับการเผาไหม้เศษกระดาษ แต่ก็จัดว่าเป็นการเผาผลาญได้ ทุกๆเซลล์ของร่างกายจึงเปรียบเสมือนเตาไฟเล็กๆ ซึ่งเผาไหม้อาหารเพื่อความต้องการหลายอย่าง และความต้องการที่สำคัญอันหนึ่งก็คือความร้อน (Heat) ความร้อนนับได้ว่าต้องการใช้พลังงานหลายๆอย่างเพื่อให้เหมาะสมแก่การทำงานแต่ละชนิดหรือแต่ละประเภท เช่น ร่างกายของเราต้องการพลังงานบางอย่างเพื่อใช้รวมวัตถุหรือแร่ธาตุซึ่งจะช่วยทำให้เซลล์เจริญเติบโตและเพิ่มจำนวนของเซลล์ให้มีมากขึ้นต่อไปอีก หรือร่างกายของเราต้องการพลังงานบางอย่างเพื่อช่วยให้หัวใจเต้นได้อยู่ตลอดเวลา
1.3 วิธีการที่เซลล์ได้รับอาหาร
เมื่อคนเรารับประทานอาหารเข้าไปแล้ว อวัยวะสำหรับย่อยจะทำการย่อยอาหารให้มีขนาดเล็กลงจนในที่สุดเป็นอณู (Molecule) และหลังจากนั้นเลือดก็จะพาอณูของอาหารเหล่านี้ไปให้เซลล์ต่างๆ จนทั่งร่างกาย เนื่องจากอณูของอาหารมีการเคลื่อนไหวหรือเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา อณูของอาหารจะเคลื่อนตัวเร็วขึ้นตามอุณหภูมิของร่างกายที่สูงขึ้น ( เช่นเดียวกันกับเมื่อเวลาที่เราต้มน้ำ ความร้อนจะทำให้อณูของน้ำเคลื่อนไหวไปมา แล้วก็จะมีฟองปุดๆขึ้นมา และอณูของน้ำจำนวนมากมายจะกลายเป็นไอน้ำลอยหนีขึ้นไปสู่อากาศ ซึ่งเป็นวิธีที่อณูของน้ำแทรกเข้าไปในอากาศ ) อณูของอาหารประเภทต่างๆที่เลือดพาไปจะเคลื่อนที่ชนกันไปชนกันมาครั้นแล้วอณูของอาหารก็จะเคลื่อนตัวออกจากเส้นเลือดฝอยและแทรกตัวเข้าสู่เซลล์ของร่างกายที่อยู่ใกล้เคียง การที่อณูของอาหารถูกผลักดันแทรกผ่านผนังของเส้นเลือดฝอยและผนังของเซลล์เข้าไปได้ ก็เพราะว่าทั้งผนังของเส้นเลือดฝอยและผนังเซลล์นั้นประกอบด้วยอณูซึ่งมีลักษณะเป็นแผ่นบางมากเรียงรายกันอยู่ทุกอณูของผนังจะเปิดช่องเพียงแค่พอให้อณูของอาหารกระจายและแทรกผ่านเข้าไปในเซลล์ได้นี้เรียกว่า Diffusion และโดยวิธีการเดียวกันนี้เองก็จะทำให้อณูของน้ำและอณูของก๊าซอ็อกซิเจนผ่านเข้าไปในเซลล์ รวมทั้งอณูของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และอณูของเสียอื่นๆผ่านออกมาจากเซลล์
1.4 ระบบอวัยวะของร่างกาย
ร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยโครงสร้างที่สลับซับซ้อน โดยโครงสร้างต่างๆจะมีหน้าที่ของตนเอง และในขณะเดียวกันก็มีความสัมพันธ์กับโครงสร้างอื่นๆด้วย สามารถจำแนกโครงสร้างต่างๆภายในร่างกายเป็นระบบอวัยวะ ดังนี้
1. ระบบผิวหนังหรือระบบห่อหุ้มร่างกาย (Integumentary system)
2. ระบบกระดูก (Skeletal system)
3. ระบบกล้ามเนื้อ (Muscular system)
4. ระบบย่อยอาหาร (Digestive system)
5. ระบบขับถ่ายปัสสาวะ (Urinary system)
6. ระบบหายใจ ( Respiratory system)
7. ระบบไหลเวียนโลหิต ( Vascular system)
8. ระบบประสาท (Nervous system)
9. ระบบสืบพันธุ์ (Reproductive system)
10. ระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine system)