นาฬิกา

Help Contact PSP Choose Language EnglishJapaneseChineseHome About PSP What's New Gallery Newest Ad Free Analog Animal Animation Count Down & Up Dark Backgrounds Digital Holidays Logo & Custom Seasons Sports Transparent Wallpaper FAQ Rankings Your Ads World Clock Daily Clock Views You Are Here: ClockLink.com | GalleryWant To Get A Custom Clock? Contact info@pspinc.com or 1-800-232-3989 Clock Name: YoshidaSauce001Choose Your Color Select by Timezone Select by City Timezone: ACST: Australia Central Time (GMT + 10:30) AEST: Australia Eastern Time (GMT + 11:00) AHST: Alaska-Hawaii Std Time (GMT - 10:00) AKST: Alaska Time (GMT - 9:00) AST: Atlantic Time (GMT - 4:00) AWST: Australia Western Time (GMT + 08:00) AMST: Amazon Time (GMT - 03:00) BRAST: Brazilian Acre Time (GMT - 05:00) BREST: Brazilian Eastern Time (GMT - 02:00) BRST: Brazilian Time (GMT - 02:00) BRWST: Brazilian Western Time (GMT - 03:00) BST: British Time (GMT + 0:00) CCT: China Coastal Time (GMT + 08:00) CET: Central Europe Time (GMT + 1:00) CLST: Chile Santiago (GMT - 03:00) CST: Central Time (GMT - 6:00) EAT: East Africa Time (GMT + 02:00) EET: Eastern Europe Time (GMT + 2:00) EG-EET: Egypt Cairo Time (GMT + 2:00) EST: Eastern Time (GMT - 5:00) FST: Falkland Islands (GMT - 03:00) GMT - 01:00 GMT - 02:00 GMT - 02:30 GMT - 03:00 GMT - 03:30 GMT - 04:00 GMT - 04:30 GMT - 05:00 GMT - 06:00 GMT - 07:00 GMT - 08:00 GMT - 09:00 GMT - 10:00 GMT - 11:00 GMT - 12:00 GMT + 01:00 GMT + 02:00 GMT + 03:00 GMT + 03:30 GMT + 04:00 GMT + 04:30 GMT + 05:00 GMT + 05:30 GMT + 05:45 GMT + 06:00 GMT + 06:30 GMT + 07:00 GMT + 07:10 GMT + 07:30 GMT + 08:00 GMT + 08:30 GMT + 09:00 GMT + 09:30 GMT + 10:00 GMT + 11:00 GMT + 12:00 GMT + 13:00 GMT + 00:00 GMT00: Greenwich Mean Time (GMT + 0:00) GRST: Greenland Time (GMT - 3:00) EGRST: Greenland Time (GMT - 1:00) ICT: Bangkok Time (GMT + 07:00) IST: Israel Time (GMT + 02:00) JOG: YogYakarta Indonesia Time (GMT + 07:00) JST: Japan Time (GMT + 09:00) MST: Mountain Time (GMT - 7:00) MX-CST: Mexico Central Time (GMT - 6:00) MX-MST: Mexico Mountain Time (GMT - 7:00) MX-PST: Mexico Pacific Time (GMT - 8:00) NZT: New Zealand Time (GMT + 13:00) NST: Newfoundland Time (GMT - 3:30) PST: Pacific Time (GMT - 8:00) R1T: Russia Time 1 (GMT + 2:00) R2T: Russia Moscow Time (GMT + 04:00) SAST: Australian South Standard Time (GMT + 10:30) USZ10: Russia Magadan Time (GMT + 12:00) USZ4: Russia Yekaterinburg Time (GMT + 06:00) USZ5: Russia Omsk Time (GMT + 07:00) USZ6: Russia Krasnoyarsk Time (GMT + 08:00) USZ7: Russia Irkutsk Time (GMT + 09:00) USZ8: Russia Yakutsk Time (GMT + 10:00) USZ9: Russia Vladivostok Time (GMT + 11:00) UYT: Uruguay Standard Time (GMT - 3:00) WAT: Namiba Windhoek Time (GMT + 2:00) WET: Western Europe Time (GMT + 0:00) WST: Western Samoa Time (GMT - 10:00) Country: Afghanistan Albania Algeria American Samoa Andorra Angola Anguilla Antigua and Barbuda Argentina Armenia Aruba Australia Austria Azerbaijan Bahamas Bahrain Bangladesh Barbados Belarus Belgium Belize Benin Bermuda Bhutan Bolivia Bosniaand Herzegovina Botswana Brazil Brunei Darussalam Bulgaria Burkina Faso Burundi Cambodia Cameroon Canada Cape Verde Cayman Islands Central African Republic Chad Chile China Colombia Comoros Congo Congo Democratic Republic Cook Islands Costa Rica Cote DIvoire Croatia Cuba Cyprus Czech Republic Denmark Djibouti Dominica Dominican Ecuador Egypt El Salvador Equatorial Guinea Eritrea Estonia Ethiopia Falkland Islands Fiji Finland France French Guiana Gabon Gambia Georgia Germany Ghana Greece Greenland Grenada Guadeloupe Guam Guatemala Guinea Guinea-Bissau Guyana Haiti Honduras Hong Kong Hungary Iceland India Indonesia Iran Iraq Ireland Israel Italy Jamaica Japan Jordan Kazakhstan Kenya Kiribati Korea Democratic Peoples Republic Of Korea Republic Of Kuwait Kyrgyzstan Lao Peoples Democratic Latvia Lebanon Lesotho Liberia Libyan Arab Jamahiriya Liechtenstein Lithuania Luxembourg Macedonia The Former Madagascar Malawi Malaysia Maldives Mali Malta Marshall Islands Mauritania Mauritius Mexico Micronesia Federated Moldova Republicof Mongolia Montenegro Morocco Mozambique Myanmar Namibia Nepal Netherlands Netherlands Antilles New Zealand Nicaragua Niger Nigeria Niue Northern Mariana Islands Norway Oman Pakistan Palau Palestinian Territory Panama Papua New Guinea Paraguay Peru Philippines Pitcairn Poland Portugal Puerto Rico Qatar Romania Russia Rwanda Saint Kittsand Nevis Saint Lucia Saint Martin Saint Vincentand The Samoa Saudi Arabia Senegal Serbia Seychelles Sierra Leone Singapore Slovakia Slovenia Solomon Islands Somalia South Africa Spain Sri Lanka Sudan Suriname Swaziland Sweden Switzerland Syrian Arab Republic Taiwan Tajikistan Tanzania Thailand Timor-Leste Togo Tokelau Trinidad and Tobago Tunisia Turkey Turkmenistan Tuvalu Uganda Ukraine United Arab Emirates United Kingdom United States Uruguay Uzbekistan Vanuatu Venezuela Viet Nam Wallisand Futuna Yemen Zambia Zimbabwe City:Albany, NYAlbuquerque, NMAnchorage, AKAnnapolis, MDAtlanta, GAAugusta, GAAustin, TXBaltimore, MDBillings,MTBirmingham, ALBismarck, NDBoise, IDBoston, MABridgeport, CTBuffalo, NYBurlington, VTCharleston, SCCharlotte, NCCheyenne, WYChicago, ILCincinnati, OHCleveland, OHColumbia, SCColumbus, OHConcord, OHDallas, TXDenver, CODes Moines, IADetroit, MIDover, OHEl Paso, TXEvansville, INFargo, NDFort Wayne, INGary, INHartford, CTHonolulu, HIHouston, TXIndianapolis, INJackson, MSJacksonville, FLJuneau, AKKansas City, MOKnoxville, TNLansing, MILas Vegas, NVLexington, KYLincoln, NELittle Rock, ARLos Angeles, CALouisville, KYMadison, WIMemphis, TNMiami, FLMilwaukee, WIMinneapolis, MNMontgomery, MNMontpelier, VTNashville, TNNew Orleans, LANew York, NYNewark, NJNome, AKOklahoma City, OKOmaha, NEOrlando, FLPensacola, FLPhiladelphia, PAPhoenix, AZPierre, SDPittsburgh, PAPortland, ORProvidence, RIRaleigh, NCRapid City, SDReno, NVRichmond, VASacramento, CASalem, ORSalt Lake City, UTSan Antonio, TXSan Diego, CASan Francisco, CASeattle, WASioux Falls, SDSpringfield, ILSt. Louis, MOSt. Paul, MNTallahassee, FLTerre Haute, INTopeka, KSTrenton, NJTucson, AZVirginia Beach, VAWashington DCWichita, KSWilmington, DESize: 140 x 52 175 x 65 350 x 130 If the above does not work, please try the following code.How to setup this widget onto your blog Add this widget to your typepad.com blog Pacific Software Publishing, Inc. 1404 140th Place NE, Bellevue, WA 98007 USA Tel: 425.957.0808 Fax: 425.957.1188 Email: info@pspinc.com Home | About PSP | What's New | Gallery | FAQ | Rankings | Your Ads | World Clock Copyright ©2010 PSP Inc. All Rights Reserved.

วันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

หอนาฬิกาบิกเบน

หอนาฬิกาพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ (Clock Tower, Palace of Westminster) หรือรู้จักดีในชื่อ บิ๊กเบน เป็นหอนาฬิกาประจำพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ ซึ่งในปัจจุบันใช้เป็นรัฐสภาอังกฤษ ตั้งอยู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพระราชวัง หอนาฬิกานี้ถูกสร้างหลังจากไฟไหม้พระราชวังเวสต์มินสเตอร์เดิม เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2377 โดยชาลส์ แบร์รี เป็นผู้ออกแบบ หอนาฬิกามีความสูง 96.3 เมตร โดยที่ตัวนาฬิกาอยู่สูงจากพื้น 55 เมตร ตัวอาคารสร้างด้วยสถาปัตยกรรมสมัยสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย (victorian gothic)
หลายคนเข้าใจว่าบิ๊กเบนเป็นชื่อหอนาฬิกาประจำรัฐสภาอังกฤษ แต่แท้ที่จริงแล้ว บิ๊กเบนเป็นชื่อเล่นของระฆังใบใหญ่ที่สุด หนักถึง 13,760 กิโลกรัม ซึ่งแขวนไว้บริเวณช่องลมเหนือหน้าปัดนาฬิกา ทั้งนี้มีระฆังรวมทั้งสิ้น 5 ใบ โดย 4 ใบจะถูกตีเป็นทำนอง ส่วนบิ๊กเบนจะถูกตีบอกชั่วโมงตามตัวเลขที่เข็มสั้นชี้บนหน้าปัดนาฬิกา ทว่าคนส่วนใหญ่กลับใช้ชื่อบิ๊กเบนเรียกตัวหอทั้งหมด
บางทีมักเรียกหอนาฬิกานี้ว่า หอเซนต์สตีเฟน (St. Stephen's Tower) หรือหอแห่งบิ๊กเบน (Tower of Big Ben) ซึ่งที่จริงแล้วชื่อหอเซนต์สตีเฟนคือชื่อของหอในพระราชวังอีกหอหนึ่ง ซึ่งใช้เป็นทางเข้าไปอภิปรายในสภา ปัจจุบันภายในหอนาฬิกาไม่เปิดให้สาธารณชนเข้าชม เว้นแต่สำหรับผู้ที่อาศัยในประเทศอังกฤษ จะต้องทำเรื่องขอเข้าชมผ่านสมาชิกรัฐสภาอังกฤษประจำท้องถิ่นของตน ถ้าเป็นเด็กต้องมีอายุเกิน 11 ปี จึงจะเข้าชมหอได้ สำหรับชาวต่างประเทศนั้นยังไม่อนุญาตให้ขึ้นไป

โครงสร้างอาคาร
หน้าปัดนาฬิกามีจารึกถวายพระพรสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียอยู่ด้านล่างหน้าปัดเป็นสีทอง รูปคนที่ใส่ไว้บนหน้าปัดแสดงถึงขนาดของหน้าปัด
หอนาฬิกาพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ มีความสูงทั้งหมด 96.3 เมตร โดยในช่วง 61 เมตรแรก เป็นอาคารก่อด้วยอิฐ บุด้วยหิน ส่วนที่สูงจากนั้นเป็นยอดแหลมทำด้วยเหล็กหล่อ ตัวหอตั้งอยู่บนฐานกว้าง 15 เมตร ยาว 15 เมตร หนา 3 เมตร อยู่ใต้ดินลึก 7 เมตร ตัวหอทั้งหมดหนักโดยประมาณ 8,667 ตัน หน้าปัดนาฬิกาทั้งสี่ด้านอยู่สูงจากพื้น 55 เมตร เนื่องจากสภาพดินในขณะที่มีการก่อสร้างหอ ทำให้ตัวหอค่อนข้างเอนไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 220 มิลลิเมตร [3]

[แก้] หน้าปัดนาฬิกา

ครั้งหนึ่ง หน้าปัดนาฬิกาของหอมีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก แต่ปัจจุบันถูกทำลายสถิติโดยหอนาฬิกาอัลเลน-แบร็ดเลย์ (Allen-Bradley Clock Tower) ที่รัฐวิสคอนซิน สหรัฐอเมริกา ทว่าผู้สร้างหอนาฬิกาอัลเลน-แบร็ดเลย์มิได้จัดให้มีการตีระฆังหรือสายลวดบอกเวลา จึงทำให้หอนาฬิกาพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ยังคงเป็น นาฬิกาสี่หน้าปัดที่มีการตีบอกเวลาที่ใหญ่ที่สุดในโลก กลไกนาฬิกาภายในหอสร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2397 แต่ตัวหอเสร็จในเวลา 4 ปีต่อมา
หน้าปัดนาฬิกาถูกออกแบบโดยออกุสตุส ปูจิน (Augustus Pugin) ตัวหน้าปัดทำด้วยโครงเหล็กกว้างและยาว 7 เมตร ประดับด้วยกระจก 576 ชิ้น เข็มสั้นมีความยาว 2.7 เมตร เข็มยาวมีความยาว 4.3 เมตร รอบ ๆ หน้าปัดประดับด้วยลายทองอย่างวิจิตร ใต้หน้าปัดสลักดุนเป็นข้อความภาษาละตินว่า DOMINE SALVAM FAC REGINAM NOSTRAM VICTORIAM PRIMAM ซึ่งแปลว่า "โอ้ พระเจ้าข้า จงประทานความปลอดภัยให้พระนางวิกตอเรียด้วยเถิด"
นาฬิกาเริ่มเดินครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2402 ต่อมาในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพเยอรมันได้ทิ้งระเบิดทำลายรัฐสภาอังกฤษ และทำความเสียหายให้กับหน้าปัดด้านทิศตะวันตกเป็นอย่างมาก

ระฆัง "บิ๊กเบน"

"บิ๊กเบน" หรือมหาระฆัง
ระฆังที่แขวนไว้ในหอนาฬิกาพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ มีชื่ออย่างเป็นทางการว่ามหาระฆัง (The Great Bell) โดยทำการหล่อครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2399 โดยวอร์เนอร์ออฟคริปเปิลเกต (Warner's of Cripplegate) หนัก 14.5 ตัน มีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่า เบนจามิน ฮอลล์(Benjamin Hall) เป็นแม่กองในการหล่อครั้งแรกนี้ จึงใช้ชื่อเล่นของเขาเป็นชื่อเล่นของระฆัง บางที่ก็ว่าระฆังอาจถูกตั้งชื่อหลังจากที่นักมวยรุ่นเฮฟวี่เวตชื่อ เบนจามิน เคานต์(Benjamin Caunt)
มหาระฆังหรือบิ๊กเบน เป็นระฆังหนึ่งในห้าใบที่แขวนไว้ในหอนาฬิกาพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ เมื่อตีจะให้เสียงโน้ต "ลา" ส่วนระฆังอีกสี่ใบที่เหลือมีเสียงโน้ต ซอลสูง ฟาสูง มี และที ตามลำดับ
ขณะที่หอนาฬิกายังสร้างไม่เสร็จ มหาระฆังที่ถูกแขวนไว้ในพระราชอุทยานพระราชวังเวสต์มินสเตอร์แตกเมื่อถูกตีด้วยค้อนที่หนักเกินไป จึงให้หล่อใหม่ที่บริษัทระฆังไวต์แชพเพล (Whitechapel Bell Foundry) ครั้งนี้ระฆังหนัก 13.76 ตัน สูง 2.2 เมตร และกว้าง 2.6 เมตร ถูกนำขึ้นแขวนในห้องระฆังบริเวณช่องลมของตัวหอ เมื่อปี พ.ศ. 2446 พร้อมด้วยระฆังเล็ก ใช้เวลาทั้งสิ้น 18 ชั่วโมง จึงสำเร็จ ต่อมาในเดือนกันยายนของปีถัดมา มหาระฆังก็ร้าว แต่ก็แก้ไขโดยการหมุนระฆังมิให้ส่วนที่ร้าวถูกตี และก็ไม่ได้ทำการซ่อมแซมมาจนถึงปัจจุบัน
ที่หอนาฬิกามีการตีระฆังเล็กทุก ๆ 15 นาที เป็นทำนองระฆังแบบเวสต์มินสเตอร์ และจะตีด้วยทำนองที่ต่างกันเล็กน้อยทุก 15 นาที เมื่อครบหนึ่งชั่วโมง จะมีการตีระฆังเล็ก ตามด้วยเสียงของบิ๊กเบนตามจำนวนเลขที่เข็มสั้นชี้ เมื่อได้ฟังแล้วก็จะเป็นที่จับใจยิ่งนัก จนกระทั่งเสียงนี้เป็นที่นิยม ทั้งนาฬิกาตั้งในบ้านและหอนาฬิกา เสียงของระฆังในหอนาฬิกาถูกนำออกอากาศทุกวัน ผ่านทางสถานีวิทยุบีบีซีช่อง 4 ก่อนข่าวภาคค่ำ (เวลา 18 นาฬิกา) และข่าวเที่ยงคืน ตามเวลาท้องถิ่นประเทศอังกฤษ

หอนาฬิกาที่ได้แรงบันดาลใจจากหอนาฬิกาพระราชวังเวสต์มินสเตอร์
มีการสร้างหอนาฬิกานามว่า ลิตเติ้ลเบน สูง 6 เมตร ไว้ใกล้สถานีรถไฟวิกตอเรีย กรุงลอนดอน ลักษณะคล้ายกับหอนาฬิกาพระราชวังเวสต์มินสเตอร์เกือบทุกประการ นอกจากนี้ ยังมีนาฬิกาที่สร้างภายหลัง โดยได้แรงบันดาลใจจากหอนาฬิกานี้ เช่น
  • หอนาฬิกาที่แกร์ เดอ ลียง (Gare de Lyon) ในกรุงปารีส
  • หอสันติภาพ ที่รัฐสภาแคนาดา กรุงออตตาวา
  • หอนาฬิกาโจเซฟ แชมเบอร์เลน "โอลด์โจ" ที่มหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม
 ความเที่ยงตรงและเหตุขัดข้อง
ภาพเจ้าหน้าที่กำลังซ่อมแซมและทำความสะอาดหน้าปัดนาฬิกา เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2550
นาฬิกาประจำหอนั้นมีชื่อเสียงอย่างมากในด้านความเที่ยงตรง โดยกลไกนาฬิกาถูกออกแบบโดยเอ็ดมุนด์ เบ็กเกตต์ เดนิสัน (Edmund Beckett Denison) และถูกสร้างขึ้นโดยเอ็ดเวิร์ด จอห์น เดนต์ (Edward John Dent) กลไกของนาฬิกาถูกสร้างขึ้นก่อนตัวหอเสร็จถึง 4 ปี ทำให้เอ็ดมุนด์ เดนิสัน มีเวลาที่จะทดสอบความแม่นยำ ซึ่งแทนที่เขาจะใช้กลไกแบบลูกตุ้มแกว่งไม่หยุด (deadbeat escapement) ซึ่งสึกหรอง่าย เพราะลูกตุ้มยังแกว่งแม้เฟืองจะล็อกแล้ว แต่เขากลับใช้กลไกแบบอาศัยแรงโน้มถ่วง (gravity escapement) ประกอบด้วยลูกตุ้มและตัวขับลูกตุ้ม (escapement) บรรจุในกล่องกันลมอย่างดีและเก็บอยู่ที่ใต้ห้องนาฬิกา จนทำให้นาฬิกามีความแม่นยำอย่างยิ่ง กลไกที่เป็นเฟืองของนาฬิกาทั้งหมดวางอยู่บนโต๊ะรองรับสีเขียวแก่ ที่ขอบโต๊ะจารึกข้อความเป็นสีทองว่า "THIS CLOCK WAS MADE IN THE YEAR OF OUR LORD 1854 BY FREDERICK DENT OF THE STRAND AND THE ROYAL EXCHANGE, CLOCKMAKER TO THE QUEEN, FROM THE DESIGNS OF EDMUND BECKETT DENISON Q.C." แปลเป็นไทยได้ว่า " นาฬิกาเรือนนี้สร้างขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช 2397 (ค.ศ. 1854) โดยเฟรเดอริก เดนต์ เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย โดยการออกแบบของเอ็ดมุนด์ เบ็กเกตต์ เดนิสัน"
ลูกตุ้มนาฬิกาสามารถปรับตั้งได้เสมอโดยการใส่เหรียญเพนนีที่ลูกตุ้มของนาฬิกา เพื่อเปลี่ยนตำแหน่งศูนย์กลางมวลของลูกตุ้ม ทำให้คาบการเคลื่อนที่เปลี่ยน ถ้าใส่เหรียญลงไปนาฬิกาก็เดินช้าลง แต่ถ้าเอาออกก็จะเร็วขึ้น จนเกิดสำนวนอังกฤษว่า putting a penny on แปลเป็นสำนวนไทยว่า โอ้เอ้วิหารราย คือทำตัวโอ้เอ้ หรือทำให้ช้ายืดยาด
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ถึงแม้บริเวณรายรอบจะถูกโจมตีด้วยระเบิดจากนาซีเยอรมัน แต่นาฬิกาก็ยังเดินได้อย่างแม่นยำ ทว่าช่วงวันขึ้นปีใหม่ พ.ศ. 2505 เกิดหิมะตกหนักมากจนนาฬิกาตีบอกเวลาปีใหม่ช้าไป 10 นาที
เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2519 นาฬิกาหยุดทำงานครั้งใหญ่อันเนื่องจากกลไกการตีระฆังเสียหายเพราะโลหะเสื่อมสภาพตามกาลเวลา รัฐบาลจึงได้มีการปรับปรุง และแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม ในปีถัดมา ซึ่งในช่วงระหว่างนั้น แทนที่สถานีวิทยุบีบีซีจะได้ออกอากาศเสียงระฆัง กลับต้องใช้สัญญาณเวลาแทน
นาฬิกาหยุดทำงานอีกครั้งเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2547 และหยุดอีกครั้งในสามสัปดาห์ให้หลัง หนึ่งปีหลังจากนั้นก็หยุดอีกเป็นเวลา 90 นาที เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 โดยคาดว่าสาเหตุเนื่องจากอากาศในกรุงลอนดอนในขณะนั้นร้อนกว่าปกติ คือ 31.8 °C  อีก 5 เดือนถัดมา เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2548 นาฬิกาหยุดทำงานเพื่อซ่อมบำรุง นานถึง 33 ชั่วโมง
ล่าสุดเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2549 เวลา 14:00 น. (เวลามาตรฐานประเทศไทย) ตะขอแขวนระฆังเล็กใบหนึ่งสึกหรอจนต้องซ่อมแซมเป็นเวลา 4 สัปดาห์ และเมื่อเวลา 15:00 น. (มาตรฐานประเทศไทย) ของวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2550 หอนาฬิกาหยุดการตีมหาระฆังเพื่อบอกชั่วโมงเป็นการชั่วคราว (ประมาณ 6 สัปดาห์) เนื่องจากกลไกในระฆังสึกหรอตามกาลเวลาเป็นอย่างมาก โดยบางชิ้นส่วนยังไม่ได้เปลี่ยนเลยตั้งแต่ที่สร้างหอ อนึ่ง นาฬิกาในหอยังคงทำงานต่อไปโดยใช้มอเตอร์ไฟฟ้าขับเคลื่อนแทนเครื่องกลของเดิม แผนการดังกล่าวเป็นการเตรียมการฉลองครบรอบ 150 ปี ของหอนาฬิกาพระราชวังเวสต์มินสเตอร์และมหาระฆัง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น